รวมความรู้ จาก iYWC9 [1] :: ความรู้เรื่อง Domain Name, จุดประกาย idea สร้างเว็บสุดฮิต, เปลี่ยน idea เป็น I do, Google Tools
หลังจากที่เริ่มหมดมุขในการเขียน Blog (แบบหน้าตาเฉย) อยู่ดีๆก็ได้ไอเดียขึ้นมาว่า
น่าจะเอาความรู้ที่ได้จากค่ายมา share ให้คนอื่นได้รับรู้บ้าง
ซึ่งเป็นการทบทวนความรู้ที่ตัวเองได้ไปในตัวด้วย ก่อนที่วันเวลาจะพรากมันไปจากสมองน้อยๆอันนี้หมด...
รวมความรู้ จาก iYWC9 จะแบ่งเป็น 3 Part ด้วยกัน (ที่ได้ลองร่างๆเอาไว้) ยังไงก็แล้วแต่ เขียน Part นี้เสร็จก่อนแล้วค่อยว่ากันอีกที ^^"
สำหรับ Part นี้ประกอบด้วย
- ความรู้เรื่อง Domain Name by @pensri
- จุดประกาย idea สร้างเว็บสุดฮิต @macroart
- เปลี่ยน idea เป็น I do @macroart
- Google Tools @hunt
เอาเป็นว่า...มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ!!!
- ความรู้เรื่อง Domain Name by @pensri
พี่ดา ตัวแทนจาก Thai Webmaster Association + DotArai ได้มาให้ความรู้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับเรื่อง Domain Name ค่ะ
Domain Name คือ?
เป็นสิ่งที่ใช้แทน IP Address
ต่างกับ Website Name อย่างไร?
เพราะ ชื่อเว็บไซต์ เปรียบเสมือน "ชื่อแบรนด์" ของเราบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีผลต่อการ Search เจอ และยังเป็นส่วนสำคัญในเรื่อง "ความเชื่อถือ-ความน่าสนใจ" อีกด้วย
ชื่อนั้นสำคัญไฉน?
เพราะชื่อที่ดี จะสามารถบ่งบอกความเป็นตัวตนของเราได้ ในที่นี้คือ บ่งบอกได้ว่า เว็บไซต์ของเราเป็นแบบใด มีลักษณะแบบไหน
ยกตัวอย่างเช่น
- Facebook มีที่มาจาก "หนังสือรุ่น"
- Google มาจากคำว่า "Googal" ซึ่งมีความหมายคือ The number 10100, written as 1 followed by 100 zeros. แต่ที่เปลี่ยนเป็น "Google" เพราะต้องการสื่อความหมายว่า "เก็บ information ไว้เป็นจำนวนมาก"
<mathematics>
The number represented in base-ten by a one with
a hundred zeroes after it.
According to Webster's Dictionary, the name was coined in 1938
by Milton Sirotta, the nine-year-old nephew of American
mathematician, Edward Kasner.
Ref : http://freefactfinder.com/definition/Googal.html
The transitive verb to google (also spelled to Google) refers to using the Google search engine to
obtain information on the Web.
Ref : http://en.wikipedia.org/wiki/Google_(verb)
การจดชื่อ Domain Name ในปัจจุบัน ต้องทำการ Check ก่อนว่าชื่อดังกล่าวยังว่างอยู่หรือไม่ เพราะมี Domain เป็นจำนวนมากในขณะนี้ ถ้าเห็นว่า "ว่าง" ให้รีบจดเลย ไม่งั้นจะโดนคนอื่น "คาบ" ไปได้ค่ะ (อันนี้บรรยายให้เห็นภาพนะคะ พี่ดาไม่ได้เป็นคนพูด 55)
หลักง่ายๆในการจดชื่อ Domain Name
- ทำอะไร
- ทำให้ใครดู
- Content is King
- Keyword
ลักษณะของ Word ที่นำมาใช้
- ทั่วไป :: doughnuts
- เจาะจง (Brand) :: KrispyKream
ถ้ามีคนใช้ไปแล้ว ลองเติมด้วย "the / i / u / your name / ฯลฯ" ยกตัวอย่างเช่น Webiz (Web Business)
ตั้งยังไงให้ "สื่อ" ต้อง "มีความหมาย + การสร้างคำใหม่"
- Short Message :: Twitter (Tweet)
- Child Community :: Dek-D
ต้องง่ายต่อ การเข้าใจ การออกเสียง และการสะกด
ยกตัวอย่างเช่น sanook, youtube, air asia, CNN
ถ้าการใช้คำสั้นๆแล้วไม่สื่อ จำยาก ให้ใช้เป็น ยาวแต่จำง่าย ดีกว่า
ยกตัวอย่างเช่น BestAnimatedForKids
เทคนิคการตั้งชื่อเว็บไซต์
- คำที่เกี่ยวข้องกับสินค้า บริการ ธุรกิจ concept
- คำค้นหาสื่อความหมาย
- ง่าย ไม่กำกวม
- หาคำขยาย
- เจาะจง
ไม่ควรใช้
- ชื่อยาวๆ เอามาย่อ แล้วไม่สื่อ เปลี่ยนเป็น "ตัดคำบางส่วนออก" ดีกว่า
- เลียนแบบเว็บไซต์ที่มีอยู่แล้ว เช่น gooogle (เค้าคงไม่หลงผิดเข้ามาบ่อยๆหรอก)
ลองมาดูตัวอย่างการตั้งชื่อเว็บไซต์กันหน่อยค่ะ
anyroom.in.th (design room)
faisorkam.in.th (ฝ้ายซอคำ)
jehjong.in.th (เจ๊จง หมูทอด)
ถ้าไปงานไหนที่เกี่ยวกับ Go online ต้องเจอ เจ๊จง ทุกทีสิน้า...
แต่ก็มีค่ายนี้นี่แหละ ที่ทำให้เราได้กิน ข้าว(อย่างเยอะ) กับหมูทอดของ เจ๊จง จริงๆ ...เป็นอาหารกลางวันของขาไป (เผื่อใครจะจำไม่ได้) ^_____^
ลองเข้าไปดูเพิ่มเติมที่
- http://chineseherb.in.th/
- http://marketgem.in.th/
จากนั้นพี่ดาก็พูดเกี่ยวกับเรื่อง Top Level Domain Name, Generic Top Level Domain Name, International Domain Name, Country-Code Top Level Domain Name, ... ใครที่อยากอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ แนะนำให้เข้าไปที่ Domain name Wiki เลยค่ะ (เนื่องจากเคยเรียนมาแล้ว ก็เลยฟังผ่านๆเพื่อทวนความรู้ ไม่ได้จดจริงจังนัก)
แต่เรื่องที่น่าสนใจก็คือ ประเทศไทยเรามี .ไทย ตั้งแต่ต้นปี 2554 แล้ว (เคยได้ยินเรื่องนี้จากการไปเข้าร่วมงาน Go online ที่ศูนย์สิริกิติ์ น่าจะประมาณเดือนสิงหาคม 2554 -- จำวันที่แน่นอนไม่ได้แล้ว) ซึ่งสามารถจดได้ฟรี คู่กับ .th ได้เลย (โดเมนไทย.ไทย --- domain.th)
แล้วมันอ่านภาษาไทยออกได้อย่างไร?
- ความยาว Domain Name มีข้อจำกัดที่ 2-63 character เป็นรหัส ASCII ทั้งหมด
- .ไทย ถูกแปลงเป็น ASCII ผ่านการทำงานของ Browser
- โดยมีการขึ้นต้น code ด้วย xn-- เพื่อเป็นการบอกว่า code ต่อจากนี้คือ "ภาษาท้องถิ่น"
- ทีนี้ภาษาท้องถิ่นก็ถูกนำมาใช้ได้อย่างง่ายดายแล้วค่ะ
แล้วถ้าจะจด Domain Name ต้องจดแบบไหน?
- ถ้าเป็นบริษัท มีการจดทะเบียน มีเครื่องหมายการค้า จดแบบ .co.th ได้
- แต่ถ้าเป็นคนธรรมดา จดเป็น .in.th ค่ะ
พี่ดาทิ้งท้ายว่า DotArai เป็น Registrar จาก ICANN (รายละเอียดเพิ่มเติม) 1 เดียวในประเทศไทย ซึ่งถ้าลองไปเปิด ICANN-Accredited Registrars ก็จะเจอว่า DotArai เป็นรายเดียวของประเทศไทยจริงๆค่ะ!!!
ก่อนที่จะจบ session ของพี่ดา พี่ดาได้ทิ้งท้ายประโยคคมๆที่จำง่าย ในการตั้งชื่อ Domain Name ว่า
"สวย สั้น สื่อ" ค่ะ
- จุดประกาย idea สร้างเว็บสุดฮิต @macroart
อันนี้ระลึกชาติผ่านชีทที่ได้รับแจกได้ ขอสรุปเป็นใจความสำคัญแล้วกันนะคะ
ทำไม Facebook จึงโด่งดัง มีคนใช้งานเป็นจำนวนมาก ถ้าเทียบ Facebook เป็นประเทศแล้วจะเป็น ประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจาก จีน อินเดีย และอเมริกา?
- Facebook เกิดมาตอนที่ myspace มีผู้ใช้อยู่ 100 ล้านคน แต่ปัจจุบัน Facebook มีคนใช้เป็นพันล้าน!!
- myspace ใช้ Celeb Marketing เราคิดว่า ณ จุดหนึ่ง มันก็คงต้องอิ่มตัวไป แต่
- Facebook เปิดตัวด้วยการให้ใช้ อีเมล์ @harvard.edu สมัครเข้าใช้เป็นสมาชิก ต่อจากนั้นก็เผยแพร่ไปสู่ @stanford.edu และมหาวิทยาลัยอื่นๆ เรียกว่าใช้ มหาวิทยาลัย เป็นจุดกระจายออกไป ... ใครบ้างล่ะ จะไม่อยากเป็นเพื่อนกับผู้ชาย harvard (คือ...มันหล่อ รวยมาก ...ประมาณนั้นใช่ไม๊?)
- Facebook ได้ทำตัวเองเป็น Platform ของ internet ไปเสียแล้ว ไม่ได้เป็นเพียงแค่ social network ธรรมดา แต่ยังมี application จำนวนมากมายอยู่บนนั้น (ยกตัวอย่างเช่นเกมส์ทั้งหลาย)
แนวคิดในการหาไอเดียทำเว็บไซต์
- Market Opportunities มองหาโอกาสทางการตลาดที่ยังว่างอยู่ เอาแบบที่ยังไม่มีคู่แข่งทางตรง
- Localization เอาของเมืองนอกมา แล้วปรับให้เข้ากับภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนบ้านเรา
ยกตัวอย่าง
Social Bookmark Localization
digg.com^zickr.com
Group Buying Localization
groupon.com^ensogo.com
- User segmentation (Vertical/Niche) มองหากลุ่มผู้ใช้ที่แตกต่าง ทำให้มันเจาะจง เฉพาะกลุ่มกันไปเลย
Vertical Wikipedia
wikipedia.org^lostpedia.wikia.com
Vertical Thailand Group Buying
ensogo.com^thailandsuperdeal.tourismthailand.org
- Product Differentiation ต่อยอดจากเว็บที่มีอยู่ในตลาด เพื่อสร้างความแตกต่าง หรือคิดไอเดียใหม่ๆ
- Mash up เอาข้อมูลของเว็บอื่น ผ่าน API แล้วเอามาสร้างมูลค่าเพิ่ม
Twitter Mashup
lab.in.th/thaitrend
twittercounter.com (Plot ตามจำนวน follower)
เว็บประเภท User-generated content (UGC) หากมี Network Effect แล้วก็จะทำให้เราได้เปรียบทางการแข่งขันทางการตลาด เราจึงควรสร้าง Network Effect ก่อนการขาย เช่น เครื่อง Fax ช่วงแรกอาจใช้การแจกก่อน จำนวน 1,000 เครื่อง จากนั้นคนที่ไม่มีในครอบครองก็จำเป็นต้องมีตาม เป็นต้น
ยกตัวอย่าง 3 เว็บไซต์บุกเบิกของประเทศไทย
- pantip :: User-generated content (community)
- sanook :: content, variety
- hunsa :: คล้ายกับ sanook
Economy of Speed
ถึงแม้ว่าเว็บไซต์ใหญ่จะมีข้อได้เปรียบในด้านเงินทุนและฐานผู้ใช้ แต่ก็สามารถแพ้ให้กับเว็บเกิดใหม่ ที่นำเสนอไอเดียที่ดีกว่า และเร็วกว่า เช่น
foursquare ที่เร็วกว่า Google latitude และ Facebook places
จากนั้นก็ได้รับโจทย์ประจำค่ายนี้คือ "เว็บที่สร้างความสะดวกสบายให้กับคนไทย" โดยที่เป็นเว็บ 2.0 เน้นให้ผู้ใช้สร้างเนื้อหากับผู้ชมคนอื่นๆ โดยให้ลองนึกถึง
- ปัญหา / อุปสรรคที่มี
- หาวิธีแก้ปัญหา โดยใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือ
- ทดสอบวิธีแก้ปัญหา โดยการตั้งคำ 5W1H
Who :: ใครคือผู้ใช้What :: ต้องการใช้อะไรจากเว็บเราWhere :: ผู้ใช้อยู่ที่ไหนWhen :: ผู้ใช้จะใช้เว็บเราเมื่อไหร่Why :: ทำไมต้องใช้เว็บเราHow :: เราจะเข้าถึงความต้องการ-ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้อย่างไร
- คิดเยอะๆ แล้วหาไอเดียที่ดีที่สุด
- เปลี่ยน idea เป็น I do @macroart
อันนี้ก็ระลึกชาติผ่านชีทที่ได้รับแจกได้เหมือนกันค่ะ เรื่องนี้มีอยู่ว่า ทุกอย่างเริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ มองให้ออกว่า ในอนาคตเว็บของเราจะเป็นอย่างไร ผู้ใช้เว็บได้รับประโยชน์อะไร อะไรที่เราต้องทำ อะไรที่เราไม่ต้องทำ และทำอย่างไรก็ได้ให้ทุกคนในทีมเห็นภาพเดียวกัน
โดยปกติแล้วจะคิด Requirement จาก Inside Out แต่ความจริงแล้วเราควรจะมองเรื่อง Outside in มากกว่า เอาสั้นๆคือ ให้คิดว่าเราเป็นลูกค้า เราก็แค่ไปนั่งอยู่ในใจลูกค้าของเรา เท่านั้นเอง...
Requirement ที่เราคิดทำ โดยทั่วไปแล้วมีอยู่สองแบบด้วยกันคือ ตัดไฟแต่ต้นลม หรือ วัวหายล้อมคอก
- ตัดไฟแต่ต้นลม
คิดในเชิงพฤติกรรมผู้ใช้อย่างรอบคอบ ปิดช่องโหว่ให้หมด คิดใน case ที่เลวร้ายเอาไว้เยอะๆ
- ข้อดี :: มีกติกาชัดเจน, ไม่เกิดปัญหาผู้ใช้งานไม่ดีเข้ามาก่อกวน
- ข้อเสีย :: อาจใช้เวลาพัฒนานาน, ยังไม่รู้ว่าผู้ใช้จะยอมรับข้อกำหนดมากมายหรือไม่, ถ้ากติกาเยอะเกินไป ผู้ใช้ใหม่ อาจจะไม่อยากเล่นก็เป็นได้
- วัวหายล้อมคอก
คิดในเชิงพฤติกรรมผู้ใช้แบบหลวมๆ คิดซะว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นคนดี คนดีต้องการทำอะไรง่ายๆ
- ข้อดี :: ผู้ใช้มีอิสระในการใช้งาน, เกิดการบอกต่อ, เมื่อเกิดปัญหาจากผู้ใช้ไม่ดีเข้ามาก่อกวน เราสามารถให้ผู้ใช้ที่ดีช่วยตั้งกติกาได้
- ข้อเสีย :: ต้องตามปิดช่องโหว่อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดสิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้น / เกิดการก่อกวนขึ้น
User-Story
ในฐานะของ [บทบาท] ฉันต้องการ [เป้าหมาย/ความต้องการ/ความปรารถนา] เพราะว่า [ประโยชน์]
เช่น ในฐานะของ "ผู้ใช้ ที่กำลังปิดโปรแกรม" ฉันต้องการ "ให้โปรแกรมเตือนให้ฉันเซฟไฟล์" ถ้ามีการแก้ไขใดๆ เกิดขึ้นหลังจากการเซฟครั้งที่แล้ว เพื่อที่ "ฉันจะได้ไม่ต้องทำงานซ้ำ"
Priority
คิด "Effort เทียบกับ Impact"
เลือก High impact และ Low effort ทำก่อน เพราะว่า ใช้แรงน้อย และให้ผลเยอะ
Story Point
การจะทำผลงานใดผลงานหนึ่ง ให้เอาทีมมานั่งสุมหัวกัน ร่วมกันให้คะแนน share เหตุผลกัน และให้คะแนนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหา Effort ของทุกคนในทีม ในที่นี้ พี่บอย ยกตัวอย่างการใช้เลข Fibonacci
ทำไมถึงเป็น Fibonacci ?
เพราะทำให้เลขต่อไป มีค่ามากกว่าเลขก่อนหน้าอย่างน้อย 50% (ค่าความคลาดเคลื่อน)
Proof of Concept (POC)
ทดสอบว่าไอเดียที่เราคิด สามารถทำได้จริงในทางปฏิบัติหรือไม่ ทำแล้วจะออกมาดีจริงหรือไม่ เช่น Pixar ได้ทำหนังเรื่อง Geri's Game ออกมาเพื่อทดสอบการขยับของเสื้อผ้าและการแสดงออกทางอารมณ์บนใบหน้ามนุษย์ ซึ่งเทคนิคนี้ได้ถูกนำมาใช้ใน Toy Story 2 ในเวลาต่อมา
Geri's Game is a five-minute animated short film made by Pixar in 1997, written and directed by Jan Pinkava. It was the first Pixar Short created after Toy Story, the previous short being Knick Knack in 1989.
This film won an Academy Award for Best Animated Short Film in 1998.
Ref : http://en.wikipedia.org/wiki/Geri's_Game
Ref : http://www.youtube.com/watch?v=-nTZfWiqRzc
หลังจากดู clip สั้นๆนี้จบ ความคิดแรกที่เกิดขึ้นคือ "สงสารคุณตา" คือถ้าเป็นชีวิตจริง แล้วเห็นคุณตาคนนี้เล่นแบบนี้คนเดียวในสวนสาธารณะ คงหดหู่พิลึก...
Testing
คิด Test Case (การกระทำของผู้ใช้) -> ที่ทำกับเว็บของเรา -> ผลลัพธ์ที่ผู้ใช้ควรได้รับ (Expected Result)
Scrum
Scrum is an iterative, incremental framework for project management often seen in agile software development, a type of software engineering.
Although the Scrum approach was originally suggested for managing product development projects, its use has focused on the management of software development projects, and it can be used to run software maintenance teams or as a general project/program management approach.
Ref : http://en.wikipedia.org/wiki/Scrum_(development)
- นำ Product Backlog มาตัดแบ่งเป็น Task ย่อยๆ เพื่อให้ทีมทำ
- มีการ Daily Scrum คือ ยืนประชุมกันทุกวัน วันละไม่เกิน 15 นาที แต่ละคนบอกว่า
- จากครั้งก่อนถึงตอนนี้ทำอะไรบ้าง- หลังจากนี้ถึง scrum ครั้งหน้าจะทำอะไร- ติดปัญหาอะไรบ้าง - ส่งมอบงานที่ได้รับมอบหมาย
Scrum Roles
- Product Owner (Manager) กำหนดฟีเจอร์สะท้อนจากวิสัยทัศน์และความต้องการของลูกค้า, ลำดับความสำคัญฟีเจอร์, กำหนดแผนการทำงาน, ให้ feedback กับทีม, บริหารจัดการงาน
- Team กำหนดงานที่จะทำ, พัฒนางาน, รับประกันคุณภาพ, ทำให้กระบวนการดีขึ้น
- Scrum Master (like slave) กำจัดอุปสรรคที่ทำให้ทีมงานทำงานไม่สำเร็จ, อำนวยความสะดวก-สนับสนุนการทำงานของทีม
ความคาดหวังที่จะได้เห็นในแต่ละสาขา
- Web Design
การออกแบบหน้าเว็บที่จะถูกมองเห็นโดยผู้ใช้มากที่สุด
- Web Programming
ฟีเจอร์ที่เป็นจุดขายสำคัญของเว็บที่สามารถทำงานได้จริง
- Web Content
ตัวอย่างเนื้อหาที่จะประากฎอยู่บนเว็บ
แผนกลยุทธ์ที่จะทำให้ผู้ใช้สร้างเนื้อหาในเว็บ
- Web Marketing
แผลกลยุทธ์ที่จะทำให้เว็บเป็นที่รู้จัก
โมเดลการหารายได้เข้าเว็บ
- ภาพรวม
นำเสนอให้กรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของนักลงทุน อยากลงทุนกับเว็บของเรา
- Google Tools @hunt
พี่ฮันท์จาก Webiz (Go online นั่นเอง) พี่ได้มาพูดเกี่ยวกับ tool ต่างๆของ Google ที่ช่วยในการทำเว็บค่ะ
- Google Webmaster tools [Quickstartguide] [WebmasterTools]
การจัดการหน้าเว็บของเรา ไม่ว่าจะดู indexed เพื่อนำไปสู่การหา keyword ที่ดี, bot track ครบหรือไม่, เว็บติดไวรัสหรือเปล่า, มีเว็บไหน link back กลับมาหาเว็บเราบ้าง, สามารถตั้งอัตราความถี่ของ bot ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ bot เข้ามาบ่อยเกิน จนอาจทำให้เว็บเราล่มได้, ดูว่า link เสียหรือไม่ เป็นต้น
- Google Analytics [Analytics]
ดู feedback ที่มีต่อเว็บของเรา ไม่ว่าจะเป็นใคร เวลาใด หน้าที่ได้รับความนิยม หน้าที่ทำเงินให้กับเรา, สามารถ set goal ได้, ดูจำนวนคนที่เข้ามาชมต่อหน้าเพจหนึ่งๆได้ ซึ่งปัจจุบันมี Real-time เพิ่มมาอีกตัว ทำให้เราสามารถเห็น traffic ณ ขณะนั้นๆได้เลย
- Google Maps API [MapsAPI]
แปะแผนที่ลงในเว็บของเรา และให้ user ช่วยเพิ่ม tags ได้
- Google Chart Tools [ChartToolsAPI]
การสร้างกราฟรูปแบบต่างๆ, QR-Code สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายและรวดเร็ว
- Google APIs Console [APIconsole]
เมื่อก่อน tool นี้ใช้ฟรี แต่ปัจจุบันมี limit เลยต้องมีโปรแกรมในการควบคุม limit เช่น 100,000++ access
(o [ ] O !!) แต่ถ้าเว็บเราคนเข้าใช้ไม่ถึงขนาดนั้นก็ไม่ต้องคิดมากก็ได้
(o [ ] O !!) แต่ถ้าเว็บเราคนเข้าใช้ไม่ถึงขนาดนั้นก็ไม่ต้องคิดมากก็ได้
- Google Insight for Search [InsightForSearch]
ดู trend, เทียบกระแส A,B,C ได้ทั้งในอดีต-ปัจจุบัน คิดจากปริมาณการ search จาก Google ทั่วโลก กับ keyword ณ ช่วงเวลานั้นๆ
Adsense :: โฆษณาอัตโนมัติ, content ในกระแส
Adwords :: โฆษณาที่ขึ้นตรงแถบด้านข้าง/บนของ Google และที่ web partner
- Google Plus [Plus+]
เติมเต็มประสบการณ์, Content ดี กระแสดี ในเวลาที่ถูกต้อง, Post ลง Stream แทนการทำ SEO
ปัจจุบันมี หน้า Google+ Page [Create G+ Page] แล้วด้วยนะคะ
Account ของเราคือ gplus.to/priwziest อย่าลืม Add เข้า Circle ด้วยนะคะ ^^~
ไม่น่าเชื่อว่าเราจะทำจนสำเร็จ เราได้ entry นี้ออกมาแล้ว!!! ตอนเขียนไปเขียนมา ยอมรับว่า "ถอดใจ" เหมือนกันนะ "ที่เราเรียนมา มันเยอะขนาดนีเลยเรอะ" แต่ก็กลั้นใจเขียนมาจนได้ เรียกว่าเป็นการ "ท้าทายความสามารถ" ของตัวเองอย่างหนึ่งเหมือนกันนะเนี่ย ... สำหรับ entry นี้ใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมงได้ค่ะ o [ ] O!!!
ตอนนี้ต้องขอตัวไปกินข้าวเย็นก่อนล่ะค่ะ
แล้วเจอกันใหม่ใน รวมความรู้ จาก iYWC9 [2] นะคะ ^ ^
ขอขอบคุณ Max Maxar สำหรับภาพประกอบ(จากค่าย)ที่อยู่ใน Entry นี้ค่ะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น