[STARTUP THAILAND 2016] การเสวนา หัวข้อ “Lesson learned from Overseas Thai Startups”

“Lesson learned from Overseas Thai Startups” 
ผู้ร่วมเสวนา

  • ดร.สารินทร์ ภูมิรัตน Co-founder EpiBone 
  • คุณปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ CEO AdsOptimal 
  • คุณพรทิพย์ กองชุน Co-founder Jitta 
  • คุณคริส ชิโนสรณ์ CEO & Founder, MentorMob 
  • ดำเนินการเสวนา โดย ดร.ปานระพี รพิพันธุ์
Session นี้จัดขึ้นตอน 13.00 น. คนที่เป็นแรงดึงดูดที่ทำให้เราอยากฟังมากที่สุดคือ พี่อ้อ พรทิพย์ ที่เดิมนามสกุลเป็น Google แต่ตอนนี้เปลี่ยนนามสกุลเป็น Jitta แล้ว ได้รู้จักตัวเป็นๆ ของพี่อ้อ ตอนที่เรายังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่เลย (น่าจะปี 3 หรือปี 4) พี่อ้อเป็นผู้หญิงเก่ง แกร่ง เป็นหนึ่งคนที่อยู่ใน Idol Collection ของเรา >,,<

เข้าเรื่องเลยละกัน: session นี้เป็นแบบเสวนา มีคำถามแล้วก็เวียนกันตอบ แต่เราขอสรุปแยกรายคนเลยแล้วกันน้า :3



Epibone

เป็นเทคโนโลยีที่คิดค้นขึ้นตอนที่อยู่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สร้างกระดูกอ่อนจาก stem cell ของคนไข้เอง เลี้ยง tissue plast, body plast เราพัฒนาที่โคลัมเบีย แล้วก็คุยกับเพื่อน คุยกับอาจารย์ คิดว่าอยากทำบริษัท แล้วก็ขอ license ของเทคโนโลยีจากมหา'ลัย ออกไป pitch ด้านนอก raise fund 1 ปี ก่อนที่จะทำบริษัทจริงๆ ตอนนี้อยู่ที่ Brooklyn, USA

ความสนใจทางด้าน bio tech, stem cell มีมาตั้งแต่ undergrad ตอนเรียนมันทำให้เรารู้ว่า stem cell คืออะไร มันคือสิ่งที่เติบโต และเป็นได้ทุกอย่างของอวัยวะร่างกาย ก็เลยเรียนต่อเอก สนใจ มุ่งมั่นที่อยากจะเรียนรู้ อยากจะทำ ไปอยู่ที่โคลัมเบียก็ได้สร้างกระดูกอ่อนตั้งแต่วันแรกที่เข้าไปใน lab หาให้ได้ว่าสนใจอะไร อยากทำอะไร แล้วเริ่มจากจุดนั้น แล้วก็จะ develop translational* (ไม่แน่ใจว่าเป็นคำนี้หรือเปล่า) ของที่อยู่ใน lab มาทำเป็น product จริง

เมื่อเรามั่นใจ Technology ของเราว่าจะใช้ได้จริง ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างหนึ่ง อย่างมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ก็สนับสนุนให้ทำเลย เค้ามี business school ให้คนส่งโปรเจคเข้าไป แล้วก็ไป pitch ให้เค้าฟัง 
แบบ "ตัดกระดูกจากเอว จากซี่โครง มาแปะ เอา cell มาเลี้ยงใน lab แล้วก็ส่งกลับไปให้ รพ." ทำให้เค้าสนใจ แล้วก็มี plan ว่า เทคโนโลยีของเราดียังไง

USA จะต้องมี publication, ip (protect you), technology ถึงจะทำให้ raise fund ได้ (ทาง bio tech, technology device ต้องมี ip) การเป็นนักวิจัยแล้วต้องออกมาทำ business มันต่างกันมาก "ผมอยากสร้างกระดูกให้ใช้ในคนไข้" นั่นเป็น 1/10 อย่างที่ต้องทำใน business อีก 9 ส่วนที่เหลือคือการที่ต้องไปคุยกับคน HR, lawer, การสร้าง culture, job posting, ... การ Step เข้ามาต้องทำอะไรหลายอย่าง แต่อีกหลายอย่างพวกนี้ จะช่วย push product ของเรา เป็นประสบการณ์ที่สนุก Challenge เหนื่อย แต่คุ้มค่า

Startup เป็น Community คนที่อยู่ในห้อง Incubator เค้าเคยทำมาแล้ว เคยเห็นมาแล้ว ทุกอย่างเราเรียนรู้จากคนอื่นทั้งนั้น การคุยกับคนเรื่อยๆ บางทีเค้าก็แนะนำเราไปหา Investor ให้อีก คุยแล้วก็เอามา apply กับตัวเรา "เมื่อมีความคิดว่า Website นี้ได้ช่วย pain point คนซักจุดนึง แล้วคิดว่าคนจะใช้ ก็ออกไปคุยเลย"

คน 7-8 คนแรกในทีมที่เริ่มต้นกับเรา ก็กึ่งๆ เป็น founder ทำยังไงให้เค้ารู้สึกว่า เราเดินไปด้วยกัน สร้าง product ไปด้วยกัน

Ads optimal

เริ่มต้นที่ San francisco ทำโฆษณาแบบเสมือนจริง ใช้ VR ดูโฆษณา 360 องศาจากมือถือเราได้เลย อย่าง Toyota ก็ใช้ของเรา หรือ sanook.com ก็เริ่มใช้เทคโนโลยีแบบนี้แล้ว ตอนนี้ได้ขยายสาขามาที่ กทม. อีกที่หนึ่งเมื่อเดือน ม.ค. จุดเด่นของเราคือ เรามี Interaction กับการรับชมสื่อ ไม่ใช่แค่การดู screen shot

พี่แบด จบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ถึงแม้จะคนละคณะ แต่ก็ขอชูป้ายไฟหน่อย) ที่ไปที่ San francisco เพราะอยากทำเทคโนโลยีที่ขายได้ทั่วโลก ก็เลยต้องไปหาตลาดจริงๆ ออกไปตอนปี 2008 ตอนแรกทำงานที่ Microsoft -> Google ก่อนจะมาเปิดบริษัทตัวเอง 

ตอนผมเรียนจบ ผมนึกภาพไม่ออกเลยว่าต้องทำยังไง หาทุนเมืองนอกยังไง ต้องเรียนรู้ แล้วทำมันให้ได้ การเจออุปสรรคทำให้เราเก่งขึ้น อะไรที่คิดว่ามันยากตอนเรียนจบ ตอนนี้มันกลายเป็นเรื่องง่ายไปแล้ว ทุกคนต้องพัฒนาตลอดเวลา การได้มีโอกาสไปทำงานที่ Microsoft ทำให้เรามองเห็นอะไรได้กว้างกว่า

เราเริ่มจากบริษัทเล็กๆ แต่เวลาไปขายเราต้องเทียบกับบริษัทใหญ่ที่อยู่ในตลาด 
การทำโฆษณามีหลายรูปแบบ ทำกันมาหลายสิบปี ทีมเราชอบเทคโนโลยี พอลองกล้อง 360 องศา แล้วในทีมมี google engineer ที่เคยทำด้านโฆษณา ก็เลยคิดว่ามันน่าจะทำได้ ทำอะไรให้มันแตกต่าง ตอนนี้มีทีมงาน 8 คน ทั้งฝั่งไทยและ USA 

อย่างฝั่ง USA เค้าก็ใช้เวลาพัฒนา Startup เป็นสิบปี ถึงจะมีเงินทุนหมุนเวียน มีคนเข้าออกเยอะ เมื่อก่อนคนไม่รู้จักเลยว่า Silicon valley คืออะไร ทุกคนต้องผ่าน stage ที่ไม่มีอะไรก่อน แล้วค่อยมีอะไรคึกคัก เป็นรูปเป็นร่าง มีมูลค่า

ที่ San francisco เป็นตลาดใหญ่ มี Energy แฝงอยู่ในนั้น ทุกคนพูดถึงแต่เรื่องใหม่ๆ บริษัทไหนซื้อบริษัทไหน กลยุทธ์เป็นยังไง เราว่าที่ไทยก็มี ใน community ใหญ่ๆ คนไทยก็เก่ง ก็มีดี เตรียมตัวให้พร้อม ถ้ามีโอกาสเข้ามา เราจะได้คว้ามันได้


Jitta

เริ่มต้นที่ San francisco เหมือนกัน (ไปเช่าบ้านพี่แบดอยู่ แบบ Airbnb) พี่อ้อ จากที่อยู่ Google ตัดสินใจมาเป็น trainee ที่ Jitta เพราะเห็นว่า Product นี้พร้อมที่จะขยายสู่ตลาดโลก มันเป็นเรื่องของการวิเคราะห์หุ้น วิเคราะห์บริษัท เพื่อให้เราตัดสินใจการลงทุนได้ เป็นการลงทุนแบบปัจจัยพื้นฐาน วิเคราะห์บริษัทนี้ว่าดีหรือเปล่า ทำอย่างไรถึงจะซื้อหุ้นในบริษัทที่ดีได้ และซื้อเมื่อไหร่ มีโปรแกรมช่วยวิเคราะห์และสามารถลงทุนได้ทั่วโลก เป็น Product ที่อยู่ในฝั่ง Financial Technology ทุกคนกำลังตื่นตัวกับ FinTech เพราะว่า ตอนนี้เทคโนโลยีอยู่ในตัวทุกคน Now digital ไม่ต้อง Go digital แล้ว การโอนเงินออนไลน์ก็เป็น FinTech ทำให้เทคโนโลยีการเงินมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จิ้มไม่กี่ครั้งก็โอนได้ แล้วก็สะดวกขึ้น ไม่ต้องไปธนาคารแล้ว อีกส่วนคือประหยัดเงิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ จะต่ำลงเรื่อยๆ เทคโนโลยีจะมาทำหน้าที่แทนคน  ทำให้มัน “เร็ว ง่าย ประหยัด” 

สภาพแวดล้อมที่ San francisco เอื้ออำนวยต่อการมีไอเดียแล้วพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ได้ เอาโปรแกรมไปให้คนที่นั่นใช้ แล้วดูว่าเค้าชอบหรือเปล่า "พี่แบด" เป็น user ที่ test Jitta คนแรก พี่แบดบอกว่า "ใช้แล้วก็ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร" ทั้งๆ มี rating, งบการเงิน ของนู่นนี่มาให้ ถ้าเราอธิบาย Product ภายใน 1 นาที แล้วไม่สามารถอธิบายได้ คือ Fail แน่ๆ Startup มันเริ่มจาก No name ถ้าดึงความสนใจของผู้ฟังไม่ได้ภายใน 1 นาที เค้าก็จะไม่สนใจเรา หรือที่เรียกกันว่า "elevator pitch" 

พี่อ้อเคย pitch ภายในระยะเวลา 30 sec (ที่อเมริกาครั้งล่าสุด) สิ่งที่ต้องทำคือ ให้พูด keyword, key msg ไม่ต้องยัดทุกอย่าง เพราะคนที่ฟังจำไม่ได้หรอก ถ้า Product เจ๋งจริง 30 sec ก็เอาอยู่ เช่น ทำไมถึงทำ ตลาดใหญ่ยังไง นักลงทุนทั่วโลก ลงทุนด้วยตลาดที่มูลค่าแบบไหน เราทำอะไรอยู่ เราจะ make the world better ยังไง ถ้าคนใช้แล้วจะโตกี่ %

โอกาสในโลกการลงทุนมีสูงมาก ดอกเบี้ยธนาคารก็น้อยมากถ้าเทียบกับเงินเฟ้อ เราต้องหาวิธีการลงทุนแบบอื่นๆ การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยง นักลงทุนต้องการข้อมูลที่บอกมาแค่ 2 อย่างว่า จะให้ซื้อบริษัทอะไร แล้วซื้อราคาเท่าไหร่ เราก็เลยไปวิเคราะห์ งบการเงิน 10 ปี ว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัทนี้ดีไม๊ Score 0-10 ถ้าเลขสูงก็ดี แล้วก็เทียบกับราคาตลาดอีกตัว ให้ซื้อบริษัทที่ผลประกอบการดีเยี่ยม แล้วก็ราคาถูก

นักลงทุน 200M คน, เงิน 200T $ ทั่วโลก เป็น Target ของเรา เรามองว่าตลาดการเงิน การลงทุนใน USA สูงมาก (35T $) ถ้าเราตี USA ได้ เราก็จะตีประเทศอื่นได้ ปีที่แล้วก็เลยไป USA เลย ไปอาศัยบ้านพี่แบด ตลาดใหญ่มาก แต่เราตัวเล็กมาก แล้วก็ใจกล้าไปที่ New York (Wall Street) เลย ตอนไปถึงเค้าก็ถามว่าเรามาจากไหนนะ ไต้หวันเหรอ? #ไม่ใช่ไม๊ล่า พอรู้ว่าเป็นประเทศไทย ก็ถามว่า ขี่ช้างอยู่หรือเปล่า #เอ่อมมม เค้านึกว่าเราเป็นสายท่องเที่ยว ไม่นึกว่าจะทำ Technology แถมทำ FinTech อีก ความเชื่อมั่นเป็นอุปสรรค แต่เรามั่นใจ เพราะเราทำ Test ทำ Proof ไป เอาตัวเลขไปให้เห็นแบบจะๆ กับอีกเรื่องคือไปหา advisor ส่วนใหญ่จะเป็นคนมีชื่อเสียง ซึ่งเราได้ Mary Buffet อดีตลูกสะใภ้ของปู่วอร์เรนมา #เท่ไปอีก 
วิธีการเข้าแต่ละรัฐของเค้าก็แตกต่างกัน เราก็โตได้ระดับหนึ่ง แล้วพอมาดูข้อมูลหลังบ้านกลับพบว่า คนเอเชียใช้มากกว่า USA อีก กลายเป็นว่า กลุ่มเป้าหมายของเราคือ นักลงทุนรายย่อย คนใช้เยอะคือบ้านเราเองเนี่ยแหละ เพราะเรามีจิตวิญญาณด้านความเสี่ยงอยู่ในตัวสูง (เล่นหวย หุ้น) ก็เลยกลับมาทำที่ไทย, SG, Taiwan ส่วนอเมริกาก็ทำอยู่ แต่ต้องปรับ product ให้เหมาะกับเค้า

Zero to One (ชื่อหนังสือ) : 1 ในนั้นคือ Network effect มี 2 แบบคือ
1. Density (ความหนาแน่น) ทำแต่ละตลาดให้ได้ก่อน แล้วค่อยขยับต่อไปอีกตลาด
2. Size (ขนาด) ไป region ต่างๆ
เราพบว่า FinTech ความเชื่อมั่นของคนใช้สำคัญ เลือกที่จะทำทีละตลาดแล้วเป็น Winner (No.1, No.2) ให้ได้ แล้วค่อยขยายไปอีกตลาดนึง เป็นการป้องกันคู่แข่งที่จะเข้ามาในตลาดเดียวกันด้วย Market ไหนมี Demand เราก็เริ่มจากประเทศนั้น ปรับตัวให้เข้ากับตลาด ถึงแม้จะมีคนบอกว่า ตลาดโลกโลกตอนนี้มัน borderless แต่มันก็ไม่ 100% เพราะพฤติกรรมของแต่ละคนต่างกัน คนเอเชียเลือกลงทุนเอง ในขณะที่ USA ลงทุนผ่านกองทุน ถามว่าทำไมไม่ไปจีน? ตลาดจีนใหญ่ โอกาสเยอะ การเข้าไปแค่วันเดียว วันรุ่งขึ้นก็มีคนทำได้ดีกว่าเรา เพราะคนเขาเยอะ talent เยอะ แถม copy เก่งมากอีกต่างหาก

MentorMob

มี based อยู่ที่ Chicago เป็น Education company สามารถเรียนฟรีผ่านคลาสออนไลน์ เรียน Step by Step เรียนให้เป็น Master ในสาขาที่หลากหลาย มีตั้งแต่ entrepreneur ไปจนถึง parenting 
เรียนฟรีแล้วหาเงินจากไหน? ก็ใช้ ads from E-commerce -> focus audience เรียนรู้จากความผิดพลาด อะไรคือสิ่งที่เราทำได้จากการรู้จักคนที่ถูกต้อง

สิ่งที่เราต้องทำคือ
  • สร้าง Product ที่ลูกค้ารัก สร้าง Product ที่ Simple ระบุให้ได้ว่าใครคือ Target เป็น Global หรือ Niche
  • รู้จักการ Deal กับผู้คน ทั้งคนที่เราจ้าง คนที่ให้คำปรึกษา คนที่ให้เงิน
  • ต้องมีเงินด้วย การ raise money เป็นยังไง แต่ละ stage เป็นยังไง risk เป็นแบบไหน
    • Investor เค้าลงทุนในตัวเรา เล่าให้เค้าฟังภายใน 1 ประโยคว่าเราเป็นยังไง ทำอะไร โดยไม่ต้องเล่า Business plan
ต้องเป็นนักสู้ สู้กับทุกความล้มเหลวที่เกิดขึ้น

ฝากอะไรถึงรัฐบาล?
  • ต่างประเทศ Government เป็นจุดเริ่ม งานนี้ทำได้ดีมาก ตรงที่ Build community จากหลายภาคส่วน ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน Government ช่วยเรื่อง Networking, Event, Tax ได้
  • Ecosystem ทุกอย่างมันต้องโตไปด้วยกัน คนที่ทำ startup ต้องรู้ก่อนว่า มันจะโตไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ช่วยเหลือกัน เค้าทำอะไรดี มันทำได้ดีขึ้นมากกว่านี้อีกไม๊ เมื่อก่อนคนเราอาจจะชอบการติ การว่ากัน ให้เปลี่ยนความคิด หาสิ่งดีๆ ช่วยกันเติมให้โต ถ้ามีคน invest ที่นึง ที่อื่นมันก็จะโตตามไปด้วยกัน เริ่ม start ไปด้วยกัน
  • ถ้าอยู่ Silicon valley จะพบว่ารัฐบาลช่วยน้อยมาก แต่จะช่วยเรื่องนโยบาย เช่น ภาษี บางกฎหมายที่ USA ก็ยังไม่ปรับปรุง ในไทยก็เหมือนกัน มันควรจะอัพเดท
  • ดีไม่ดีไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล แต่อยู่ที่ตัวเรา community ของเรา
  • คนที่ไป SG ตอนนี้เค้าก็กลับกันมาแล้วนะ startup ตอนแรก เราอาจจะไม่ได้ revenue การหาเงินทุนจาก VC เมื่อก่อนในเมืองไทยก็ไม่ค่อยมี แต่ SG มีเยอะ แต่ข้อจำกัดคือเราต้องไปเปิดที่เค้า และต้องจ้างคนในประเทศเค้าด้วย 
  • ecosystem ในเมืองไทยดีที่สุดแล้ว คนเก่งเยอะ VC ก็เยอะแล้ว รัฐบาลก็ให้ความสนใจมากขึ้น (มีการปรับกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องของหุ้นอยู่)
  • FinTech มีโอกาสสูง แต่ยังไปไม่ถึงฝัน เนื่องจาก ข้อกฎหมาย ข้อกำกับต่างๆ ซึ่งกฎต่างๆ ค่อนข้างเคร่งครัดมาก ไม่เหมาะกับ startup เช่น จะทำด้านกองทุน ต้องเริ่มต้นจดทะเบียน 100 ล้าน #จะเป็นไปได้ยังไง ต้องทำยังไง startup ถึงทำได้? อย่างเรื่อง peer to peer lending เหมือนเงินนอกระบบ แต่มีตัวกลางมาช่วยให้โปร่งใส ในไทยยังไม่มี กฎหมายในไทยก็ควรต้องมีรองรับด้วย เพราะมันจะกระทบกับผู้บริโภค
  • รัฐบาลก็ต้องทำตัวเป็น startup ด้วย ไม่ใช่แค่ส่งเสริม เอาเทคโนโลยีมาช่วย เอากระบวนการ เอาแนวคิดมาใช้ด้วย เข้าใจอย่างเดียวไม่พอ 
  • Learning & educate people about experience ไม่จำเป็นต้องมี diploma 
  • Big part คือการ Bring experience, Energy, knowledge, collaborate together, networking how people talk to you
  • People are shy so you have to go and get it 
  • คุณคริสบอกว่า amazing มากสำหรับงานนี้ เพราะเค้าเห็น so much energy 
  • Do thing different, taking out there and make it better
  • ถ้าทำใน Local ได้ การไป Overseas ก็ไม่ยาก และมันจะ become successful
  • โจทย์สำหรับรัฐบาล/มหา'ลัย คือ how to educate the experience? จากนั้น bring experience people to exchange value ยังไง value มาได้จากหลายทาง แต่อะไรคือ king of value that you create ให้ทำ a pipeline step by step ตั้งแต่การ make money, sell company, etc.
ทิ้งท้ายจากพี่อ้อว่า: 
User ก็ต้องช่วยกันใช้ ช่วยกันซื้อด้วยนะ ถ้าคนไทยไม่ช่วย startup ไทยด้วยกัน เราก็ไป Global ไม่ได้ 
โหยยย นี่ session ละ 1 ชั่วโมงจริงปะเนี่ย ทำไมเนื้อหามันอัดแน่นขนาดนี้ ตอนฟังก็เพลินๆ หรอก ตอนมาเขียน Blog เนี่ย... ทำเอาช็อค! #ยังไม่จบง่ายๆ ด้วย Orzzz

ก่อน Blog นี้เรามี >> ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "Startup and Innovation : the way of LINE"  ฝากด้วยน้า ^^

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์ตรงกับการโดน Facebook บังคับเปลี่ยนชื่อ ทำอะไรไม่ได้นอกจาก "รอ"

สองชั่วโมง สองที่เที่ยว ด้วย เรือหางยาว เจ้าพระยา

น้องนีโม่ กับ โรคฉี่หอม