เดินสาย เพิ่มสกิล | C-asean Hump Day: UX UI

กดจิ้มตั๋วใน ZipEvent ไปตั้งแต่วันที่ 29 Feb ตามคำเชิญชวนของ พี่ป๋อม ywc5 แล้วเราก็เอามาเผยแพร่ต่อที่ Office ส่งผลให้เพื่อนร่วมงานที่ Office เราไปกันหลายคนมาก ทั้งฝั่ง PM, Front-end dev, รวมถึง Copy writer ฮ่าาาา


งานนี้จัดขึ้นวันที่ 16 Mar ที่ C asean (ถ้านั่ง MRT ให้ลงศูนย์วัฒนธรรม ถ้าจำไม่ผิด น่าจะเป็น ประตู 1 แล้วเดินรัวๆ) โดยกำหนดการระบุว่า เริ่มเวลา 18.30 น. ซึ่งสำหรับมนุษย์ประเภทเรานั้น บอกเลยว่า "ไปไม่ทัน" Orz ไปถึงงานตอนประมาณหนึ่งทุ่มนิดๆ เค้าเริ่มไปหน่อยนึงแล้ว เก็บสาระความรู้ที่ได้ฟังมาแปะ Blog ดังนี้นะฮะ


User Experience คือ "การมอง" ด้วย "มุมมอง" ของ User (ผู้ใช้งาน) แล้วหยิบ "มุมมอง" ของเค้าไปออกแบบ ประกอบไปด้วยหลายๆ ส่วน
  • HCI (human centre interaction)
  • Design
  • Ergonomics
  • Marketing
  • Usability
  • System performance


ภาพจาก https://uxvisualdesign.files.wordpress.com/2015/08/ux-bolas-01.jpg

เราก็รู้กันว่า UX is important แต่ๆ ทำไมมันถึงสำคัญ?

- สร้างกำไรได้เยอะกว่า 

เรื่องของปุ่ม 300 M$ (รายละเอียดเต็มๆ อ่านได้ที่นี่ The $300 Million Button)

หน้าจอที่ทุกคนคุ้ยเคย กลายเป็นมีปัญหา สิ่งนั้นคือปุ่ม Register ใน website e-commerce 
ปัญหาคือ User ต้องการซื้อแค่ครั้งเดียว ทำไมต้องมีการสร้างความสัมพันธ์อะไรด้วย? “I’m Not Here To Be In a Relationship” หรือแม้จะเป็น Member อยู่แล้ว แต่จำ Username Password ไม่ได้ ทำยังไง? ก็เลยคิดว่า "เป็นไปได้ไม๊ ที่จะซื้อของโดยที่ไม่ต้อง Register"
ทีนี้ก็เลยเปลี่ยนคำว่า Register เป็นคำว่า Continue แทน แล้วก็เขียน text บอกว่า ถ้าครั้งหน้าอยากซื้อเร็วขึ้น ให้เป็น Member กับเราสิ

The designers fixed the problem simply. They took away the Register button. In its place, they put a Continue button with a simple message: “You do not need to create an account to make purchases on our site. Simply click Continue to proceed to checkout. To make your future purchases even faster, you can create an account during checkout.”

การเปลี่ยนปุ่มแค่ปุ่มเดียว ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น 45%

- เป็นแก่นของการสร้างนวัตกรรม

User Research สามารถเปลี่ยนเกมได้ เพราะทำให้เรารู้แก่นของปัญหา ยกตัวอย่างเคส blockbuster vs netflix 

ปัญหาคือ การเช่าวีดีโอเนี่ย ถ้าเราอยู่ไกล แบบ ตจว. การเช่ามาแล้วเอาวีดีโอไปคืน มันเสียค่าเดินทางมากกว่าค่าเช่าอีก ตอนนั้น netflix ก็ให้เช่า video, dvd online แล้วก็ส่งแผ่นให้ทางไปรษณีย์ ถ้าไม่คืน ก็ไม่มีสิทธิ์เช่าเรื่องใหม่ แต่ถ้าคืน ก็ได้เช่าเรื่องใหม่ต่อ พอเน็ตเริ่มเร็วขึ้น ก็มี video streaming เกิดขึ้น
ส่วน blockbuster ก็ล้มละลายไป ทั้งๆ ที่ตอนนั้นตัวใหญ่กว่า netflix (ที่เป็นตัวเล็กมาก)


ทำไมชนะ?
  • เพราะสอดคล้องกับ lifestyle คน มนุษย์เราขี้เกียจ ถ้ามี innovation ที่สบายขึ้น ง่าย ก็ต้องลองสิ
  • netflix ให้ทดลองใช้ฟรี 1 เดือน ถ้าพอใจค่อยมาเป็นลูกค้า
  • หรืออย่างซองจดหมายสีแดงที่ใช้ส่งของ พอเอาซองไปหย่อนใส่ post box หน้าบ้าน แล้วคนหยิบขึ้นมาคนอื่นก็เห็นกันทั่ว 
  • Business model based on UX

ภาพจาก http://static4.businessinsider.com/image/4d6d059a4bd7c85c391d0000/netflix-infographic.jpg

UX คือการที่เราทำอะไรก็ได้ ให้คนใช้งานรู้สึกดี ผ่านกระบวนการออกแบบ ที่ทำให้เราเข้าอกเข้าใจในตัวเค้า เราต้องรู้ว่า พฤติกรรม, Action ที่เค้าทำ เกิดขึ้นเพราะอะไร ทำไมเค้าถึงคิดแบบนั้น ทำไมถึงมีอารมณ์แบบนั้น ทำไมพูดแบบนั้น ซึ่งทั้งหมดนี้ทำผ่าน user research 
  • เราไม่ใช่ user 
  • Product owner ก็ไม่ใช่ user
  • สิ่งที่เราคิด อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ user คิด

เราต้องเปลี่ยนมุมมอง แทนที่จะถามว่า "อะไร" ให้ถามว่า "ทำไม" เค้าถึงทำแบบนั้น สังเกตให้มากขึ้น จะนำไปสู่การออกแบบที่ดีขึ้นได้

Henry Ford ก่อนจะสร้างรถยนต์ เค้าก็ไปถามคนว่าต้องการอะไร ในการเดินทางจากจุดนึงไปจุดนึง
คำตอบแรก -> ต้องการม้าที่เร็วขึ้น
ทำไมต้องการม้าที่เร็วขึ้นล่ะ? -> จะได้กลับบ้านเร็วขึ้น (ความต้องการที่แท้จริง)
User ต้องการกลับบ้าน ไม่ได้ต้องการม้า ก็เลยเกิดเป็นรถยนต์ขึ้นมา

“If I had asked people what they wanted, 
they would have said faster horses.”

UX ไม่ใช่ UI

  • UI เป็นจุดสุดท้ายที่มีปฏิสัมพันธ์กับ user
  • UX เป็นกระบวนการที่ให้ได้มาซึ่ง UI ที่ดี 

ตอนประกาศรางวัล Miss Universe ที่มันประกาศผลผิด ที่ผิดคือ UI error (แต่ UX อาจจะผิดก็ได้)

ภาพจาก http://assets.nydailynews.com/polopoly_fs/1.2472294.1450670060!/img/httpImage/image.jpg_gen/derivatives/article_400/universe21n-15-web.jpg
สิ่งที่ต้องทำ มีเป็นสิบ ก่อนจะออกมาเป็น UI

UX = Art + Science + Business 

เป็นคนเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง designer, engineer และ business ทำให้ process ของงาน smooth ถ้าทำได้ดีก็จะเป็น positive experience

ส่วนใหญ่ที่เราเห็น visual design มันเป็นยอดน้ำแข็ง ก้อนใหญ่ข้างล่างที่คนมองไม่เห็น มันใหญ่มาก 

ภาพจาก http://arquiteturadeinformacao.com/wp-content/uploads/2012/03/ux_iceberg.png

UCD (user centre design)

เราจะ make design decision อะไรซักอย่าง เราต้องคิดว่า user เค้าจะคิดยังไง แล้วก็ optimize เพื่อให้เกิด experience ที่ดีที่สุด

6 Design Sprint

ภาพจาก http://image.slidesharecdn.com/designsprint-150813024337-lva1-app6892/95/google-design-sprint-10-638.jpg?cb=1439505991

Define

ให้มีความชัดเจน ชัดพอที่จะเอาไปทำ prototype สำหรับ test ได้ เราแก้ปัญหาทั้งโลกไม่ได้ ต้องเลือกมา
ปัญหานึงก็มีหลาย solution ที่ดีได้

โจทย์: เด็ก ตจว. มีคอมไม่พอ ถ้าจะทำคอมให้ได้ประสิทธิภาพต้องลงมือทำ จะแก้ปัญหายังไง?
  • ถ้าเด็กลงมือทำพร้อมกัน จะสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น -> ก็เลยมี software นึงเกิดขึ้น ต่อเม้าส์หลายๆ อันเข้าไปในคอมตัวเดียว ทุกคนมี icon เม้าส์ของตัวเอง
  • ทำให้คอมมันถูกลง -> เกิดเป็นคอมแบบพกพา ใช้มือหมุนปั่นไฟได้เลย เหลือไม่กี่พันบาทต่อเครื่อง
ซึ่งทั้งสองวิธี เป็นวิธีที่ดี และเป็นไปได้

เปิดไปเปิดมาแล้วเจอเว็บนี้เข้า ดูอลังการดีนะ http://www.usability.gov/how-to-and-tools/resources/ucd-map.html

Planning

  • เข้าใจ user (ผู้ใช้) รู้ว่าเค้าเป็นใคร ต้องการอะไร อะไรคือเป้าหมายของเค้า อะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้เค้าทำต่อ เราต้องการ capture interaction สิ่งที่เค้าคิด 
  • เข้าใจตลาด ตลาดตอนนั้นให้ความสำคัญกับอะไร

Want มีหลายอัน แต่ Need จะมีแค่อันเดียว

คนเตะบอลทำยังไงให้เตะบ่อยๆ? Adidas ทำชิพฝังในรองเท้า ยิ่งเราเตะบอลเรื่อยๆ Avatar เราก็จะเมพขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ Export ตัวนี้ไปเล่นในเกมส์กับเพื่อนได้ด้วย

ถ้าเป็นผู้หญิง สิ่งที่ชักจูงเค้าได้ก็คือ : SALE x% ตัวอักษรสีแดงๆ

อะไรที่เป็น limit ของเค้า เช่น คนแก่อ่าน ebook font ต้อง 36pt++ ถ้าเราต้องออกแบบให้กับคนสูงอายุ เราก็ต้องทำ font ใหญ่ๆ

ออกแบบ app สำหรับคนตาบอด ใช้ voice over function ซึ่งทำให้พวกเค้าสามารถใช้งานได้เหมือนๆ กับคนปกติแบบเรา

พอเรารู้ limit เราก็จะออกแบบได้

Activity ของ user เป็นยังไง? ปกติเราจะดูเค้าทั้งวันเลยว่า เค้าทำอะไรบ้าง ใช้ app เราตอนไหน ให้ user ถ่ายรูปกิจวัตรประจำวันมาเลย

ไม่ว่าจะเป็น ภาษาที่ใช้ ตอนนั้นเค้าใส่ชุดอะไร เค้าใช้งานมันที่ไหน (บน bts บนภูเขา ที่office ใต้น้ำ) ทุกอย่างล้วนมีผลกับการออกแบบ ถ้าออกแบบให้นักบินอวกาศใช้ เราก็ต้องรู้ว่า ชุดเค้าทำให้นิ้วใหญ่ขึ้น ปุ่มกดก็ต้องใหญ่ขึ้นด้วย

ประสบการณ์ผู้ใช้งานที่ผ่านมา จะทำให้เราเข้าใจเค้าได้มากขึ้น

เอา Real world experience มาใช้ในการออกแบบ ทำให้เค้ารู้สึกดีขึ้น เช่น blue bottles (ไม่แน่ใจว่า คือ เว็บนี้หรือเปล่า > bluebottlecoffee.com) ร้านกาแฟที่อยากเอาของมาขายออนไลน์ คุยกันไปมา แล้วก็กลับไป research ดูว่า ตอน user เดินเข้าร้านกาแฟ เค้าเจออะไรบ้าง แล้วก็เอามาทำเว็บไซต์ ทำให้เว็บของเค้าเริ่มต้นด้วย "คุณชอบกาแฟแบบไหนครับ" เหมือนที่บาริสต้าถามเราตอนที่เราเดินเข้าร้าน

ตลาดต้องการอะไร?
อย่าง photo application ถ้าใช้แบบบ้านๆ photos ก็พอแล้ว หรือต้องการทำนู่นทำนี่เยอะๆ แบบ lightroom 

จุดแข็งของเราคืออะไร? เราส่งมอบ solution ไม่ได้ส่งมอบ feature 

กฏ 80:20
เรามี user 10 คน มี feature 10 อย่าง
ส่วนใหญ่แล้ว คน 8 คน จะใช้ 2 feature
ส่วน 2 คนที่เหลือ จะใช้ 8 feature ซึ่งไอ้พวกนี้แหละที่ขี้บ่น
แทนที่เราจะทำให้ครบ 10 อย่าง เราใส่ใจทำ 2 อย่างนั้นให้ดีดีกว่า

อย่าง MS word สมัยก่อน ก็มีอะไรไม่รู้เต็ม tool bar
2 ปีผ่านไป จาก 2001 -> 2003 ได้แถบด้านข้างที่ไม่มีคนใช้มาอีก 1 อัน (สงสัย research ผิดทาง)
เวลาผ่านไป MS รู้ตัว ก็ออก ver. ที่ tool bar น้อยลง focus ที่การเปลี่ยน font size paragraph ทำทุกอย่างให้ง่ายขึ้น อย่าง ver. ล่าสุดของปีนี้ ก็โคตรโล่งเลย

aom writer (ฟังชื่อจริงๆ ไม่ถนัด ขออภัย) เค้าบอกว่าตัวเองเป็น platform ที่ professional writer เพราะงั้นเวลาเราเขียนก็จะเป็น full screen (ปิดรับ noti. จากที่อื่น) เมื่อไหร่ที่เราต้องการจะปรับอะไร ค่อยมี tool ขึ้นมา ซึ่งก็มีแค่ 5 fonts, 3 size นอกนั้นก็เป็น feature ที่ไม่รู้จะมีทำไม อย่างเปลี่ยนเสียง keyboard, bg music, เปลี่ยนภาพ bg  

หรือ App สำหรับคนอู้งาน "ถ้าหยุดพิมพ์เกิน 15sec ไฟล์จะลบ" ...อันนี้โหดไป๊ 

Twitter เมื่อก่อนทำอะไรได้โคตรน้อยเลย ได้แค่ tweet 140 char + retweet ไปมา ถ้าใช้รุ่นแรกๆ จะเจอ ปลาวาฬ over capacity หลังๆ ปลาวาฬ ไม่โผล่ละ แทนที่จะเอาเวลาไปเพิ่ม feature เอาเวลาไปแก้ปัญหาไม่ให้มันล่มดีกว่า
มียุคนึงที่ twitter กลายเป็นสำนักข่าวมวลชนย่อมๆ เลย

ภาพจาก https://www.grahamcluley.com/wp-content/uploads/2016/01/twitter-fail-whale.jpeg
feature เยอะ bug ก็เยอะ เข้าใจยาก ต้องมี call center มาช่วยตอบคำถามอีก 
โอกาสที่เราเสียไปกับการนั่งทำอะไรพวกนี้ก็มากมายมหาศาล
แทนที่จะยัด feature ให้มาดูว่า 20% ไหนสำคัญกับ core business ของเราจริงๆ  

Persona

  • marketing = target group, segment
  • UX = interactive 

สมมติว่า product 1 ชิ้น ให้เป็น calendar ละกัน มี 4 user ที่ต่างกัน marketing persona อาจจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันก็ได้ เช่น อายุ 18-35, เงินเดือน 10-20k, ชอบเทคโนโลยี สนใจสิ่งใหม่ๆ แต่ product จริงๆ สามารถออกมาเป็น calendar 4 รูปแบบได้


user เราเป็นใคร? ให้หยิบมาหนึ่งคน
เค้าต้องการอะไร? เตรียมคำถาม interview เค้า อะไรคือ user pain point 
  • ถามคำถามให้กว้างๆ แล้วค่อย scope down ไปให้ถึง pain point 
  • หลีกเลี่ยงการถาม yes/no question 
  • พยายามถามคำถามปลายเปิด focus ว่าเค้าทำอะไร ยังไง มากกว่าผลลัพธ์ของการกระทำ เช่น ถ้าต้องการไปหน้า product detail คุณจะทำยังไง 
  • ถามอะไรที่เป็นปัจจุบันที่เค้าทำอยู่แล้ว เช่น ช่วยเล่าเหตุการณ์เมื่อเช้านี้ เวลาคุณซื้อของออนไลน์ มี process อะไรบ้าง 
  • อย่าถามว่า ถ้าจะต้องมี drone เอาไว้ส่งของ คุณอยากได้แบบไหน เพราะเค้าจะตอบไม่ได้ หรือไม่ตรงตามความจริง

Persona จะมีรูป แล้วก็คำอธิบาย ให้คนในทีมเข้าใจว่า เค้าเป็นคนยังไง (เป็น process ที่ใช้ใน silicon valley) ให้เสมือนว่าเค้าเป็นหนึ่งในทีม ให้ทุกคนอ้างอิงถึงคนนี้


Storyboard ไม่ใช่ wireframe มันต้องบอกเล่าเรื่องราวได้ว่า ใช้ที่ไหน เมื่อไหร่ สถานการณ์ไหน ทำให้เรารู้วิธีการใช้งาน รู้ว่าเค้ารู้สึกแบบไหน ส่งผลให้เราแก้ปัญหาง่ายขึ้น

Experience map บอกว่าเค้ารู้สึกอะไร ณ stage ไหน อาจมี emotional แถมไปด้วย

Priority 

รู้จักการเรียงลำดับความสำคัญ เราต้องการให้คนอ่าน content ทั้งหมด แต่ user ปกติขี้เกียจ ถ้าเราจัดความสำคัญดี เราก็จะดึงดูดให้เค้าทำในสิ่งที่เราต้องการได้

อย่าง icon logo ที่ยัด text มาเต็มๆ ยิ่ง size เล็กลง ยิ่งมองไม่เห็น อ่านไม่ออก ให้ดึง identity มันออกมา 
เช่น vine, kakao, pinterest logo จากชื่อเต็ม ก็มี icon เป็นตัวเดียว

ภาพจาก http://www.titanui.com/wp-content/uploads/2013/08/01/Vine-Icon-Set-Vector.jpg

ภาพจาก http://www.sternbergclarke.co.uk/images/3039.jpg


ถ้ามันสำคัญทั้งหมด แสดงว่ามันไม่มีอะไรสำคัญเลย

เช่น www.apple.com เน้น iPhone 6s 



ส่วน Samsung เอาภาพครอบครัวมา bold ใหญ่กว่าสินค้าอย่างเครื่องซักผ้าที่อยู่ข้างๆ (หน้าเว็บปัจจุบัน samsung เปลี่ยนแล้วนะ ไม่เหมือนในที่โชว์ใน presentation) 

หรือ sony ที่มีหลายสิ่งมาก ตกลงขายอะไร? 

The fundamentals feedback to user

ทำอะไร ควรที่จะบอก เช่น OS ของ Mac จะมีการดูดหน้าต่างเวลากดย่อ ทำให้เรารู้ว่ามันไปอยู่ตรงไหน
หรือ delete email แล้วดูดเข้าไปในถัง บอก user ว่าเค้าอยู่ stage ไหน เค้าจะได้ไม่หลงทาง เช่น 
  • icon กระพริบ หรือมีแสงเรืองๆ ออกมา ทำให้ user รู้ว่าเรากำลังพิมพ์อยู่นะ
  • แถบสีฟ้าที่ทำให้เรารู้ว่า เรา select folder นี้อยู่ 
  • loading bar ทำให้ user รู้ว่า มันกำลังทำงานอยู่ จะได้ใจเย็นลง อย่างน้อยมันก็ยังทำงานอยู่ คนเรามีความอดทนในการรอไม่เท่ากัน

Material design ของ google : interaction ทุกอย่างจะเกิดขึ้น ณ จุดที่กด 

กฏ 2 วินาที
user มีความอดทนต่ำ เหมือนกับว่า เราอยู่บนดาวอังคาร ถ้าเราทำอะไรพลาด เราตาย ถ้า user ไม่พอใจ ก็ปิด เลิกใช้ จบ ถ้า 2 วินาที คิดไม่ออกว่าจะทำอะไร เค้าก็ปิด ก็ออก

Amazon พอเราเลื่อน mouse ไปที่ dvd ด้านล่าง จะขึ้น add to cart ตัวเบ้กๆ มาเลย พยายามทำให้ interaction ที่เป็น sequence ต่อเนื่องกันอยู่ใกล้กัน
  • Navigation ต้องเคลียร์ ดูปุ๊บรู้ปั๊บว่าเราอยู่ทีไหน ใช้เหมือนกันทั้งเว็บ ทำให้ user ไม่รู้สึกหลงทาง
  • ส่งมอบ brand message ให้ consistency เดียวกันทั้งเว็บ ไม่ว่าจะเป็นโทนสี, mood & tone, navigation 

Design for usage 

ถ้าให้เปรียบ fine dining = iOS, burger = android 
platform ต่างกัน มี character ต่างกัน navigation ก็ต่างกัน
เอาจริงๆ android navigation ยังไม่นิ่ง ไม่ใช่ android ไม่ดี แต่ถ้าอยากดูวิวัฒนาการความคิด ให้ดู android แล้วลองนั่งคิดตามดูว่าทำไมถึงปรับแบบนี้ 
ฝั่ง iOS เองตอนนี้ก็พลาด ที่ back อยู่ซ้ายบนสุด โทรศัพท์จอใหญ่ขึ้น ปุ่ม back เอานิ้วมือลากไปไม่ถึง อีกไม่นานก็น่าจะออกโทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือไม่ก็เปลี่ยน pattern  
ไม่มี navigation model ไหนถาวร เพราะ user behaviour เปลี่ยน market เปลี่ยน

Tablet vs Phone
ex: ebay application คนละหน้าตา เพราะ usage (ขั้นตอนการใช้งาน) ต่างกัน
  • tablet ถูกออกแบบมาให้นั่งเลือกดูสินค้า ตอน Steve jobs demo ipad ยังไปลากโซฟามานั่งเลย
  • phone ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เราประมูล และ real time คนใช้มือถือไม่จำเป็นต้องมานั่งเลือกซื้อของ ต้องหยิบขึ้นมาแล้วประมูลต่อได้รวดเร็ว โทรศัพท์มันใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา เป็น instant access 

Desktop website vs Desktop application 
  • Website = click and go
  • App = can drag & drop

Windows vs Mac
  • รูปแบบฟอร์ม Mac = align centre 
  • ถ้า windows จะบนลงล่าง

Continuous development 

พฤติกรรมเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เราก็เลยต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ process ส่วนใหญ่คือ lean ux เรียนรู้ ทำ วัดผล ทำใหม่

prototype อะไรก็ได้ที่ test ได้ ไม่จำเป็นต้อง perfect อะไรก็ได้ที่เร็วและง่าย
  • interview
  • persona
  • sketch storyboard
  • paper prototype
  • test
  • high-fidelity prototype
  • test
  • high-fidelity prototype
  • test

Good & Bad tasks
bad: ไหนลองหา book case หน่อย (user ก็จะมีคำศัพท์นี้เกิดขึ้นในหัว แล้วก็มึน)
good: ถ้าคุณมีหนังสือ 200 เล่ม กระจายอยู่รอบๆ ถ้าต้อง organize จะทำยังไง

ในห้อง test มีสองคนก็พอ ที่เหลือดูผ่านกล้องเอา test ประมาณ 5 คนแรก เราจะเห็นปัญหา 80% แรกของเราละ ถ้าจะประหยัดเวลา 5-8 คน ก็ครอบคลุมปัญหาแล้ว
ในทุกๆ เดือน เราควรทำ test คน 3 คน ในช่วงเช้า แล้วช่วงบ่ายก็นั่ง discuss นอกจากสรุปงานได้ ยังไม่กินพลังงานเรามากไป (ประโยคนี้เราอ่านเจอจากเล่มสีแดงนี้ด้วยๆๆ)

ภาพจาก http://maxincube.com/dmmt/assets/images/meta/facebook/dmmt.jpg
FB ตั้งแต่ปี 2008 -> 2013 มีการปรับมาเรื่อยๆ 
Google search ก็เปลี่ยนหน้าตามาเรื่อยๆ เหมือนกัน develop ปีต่อปีเลย - ปีที่แล้วพัฒนาหนักไปหน่อย แยกบริษัท เป็น alphabet แทนเลย 55+
ช่วง Q&A

สิ่งสำคัญก่อนการสร้าง prototype คือการตั้งโจทย์

เช่น ถ้าเรามี service แบบนี้ คุณจะมีคำแนะนำอะไรกับเรา อันนี้ก็เป็น prototype ละ
ถ้าเราเป็น ecommerce มี sketch คร่าวๆ 10 นาที/แผ่น ก็ได้ หรือใช้ prototyping tools ทำง่ายๆ ก็ได้
โจทย์ที่ถาม มักจะ critical สำหรับ business
ยกตัวอย่าง บริษัทลูกในเครือ google venture ทำหัววาล์ว คำถามคือ วาล์วแบบใหม่ จะขายออกหรือเปล่า? ถ้าจะทำ prototype มันจะแพงมาก google venture ก็เลยแนะนำว่า ให้ทำ brochure บอก feature กับ 3d อันนึง แล้วไปขายลูกค้าปัจจุบันดู ถ้าเค้าซื้อก็โอเค ไฟเขียว มันสำคัญที่ตอนตั้งโจทย์ ว่าเราจะตั้งว่าอะไร

Usability test 

ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ อย่างน้อยควรมีคนนึงในทีมที่สามารถ control moment, ask right question ทำให้การ test ไหลลื่นที่สุด ให้ลองไปอ่านเล่มเขียวๆ นี้ (เราเพิ่งเริ่มอ่าน)

ภาพจาก http://www.stbookcenter.com/image/cache/catalog/00000007/S__3260435-500x515.jpg
ใช้การ observe เค้า ผ่านสิ่งที่เค้าทำจริงๆ เพราะถามตรงๆ มักไม่ได้คำตอบตรงๆ หรืออาจจะทำ focus group, user interview

ทุกคนควรคิดถึง user เป็นอันดับแรก

UX กับ UI  ไม่ควรเป็นคนเดียวกัน เพราะเค้าจะเหนื่อยมาก -0-
  • UX ถนัดการขุดคุ้ยข้อมูลมาสรุป เอาพฤติกรรมมาแปลงเป็น design
  • UI ปล่อยพลัง ให้งานออกมาสวยที่สุด 

ที่มาของ IG : อยากได้รูปสวยๆ แต่ใช้ photoshop ไม่เป็น เอาแค่กดจึ้กเดียวแล้วสวยเลย ก็เลยกลายเป็น IG ส่วนที่อวดภาพกันตอนนี้เนี่ย มันเป็นพฤติกรรมของ user ตอนหลัง

อย่าง Facebook ก็ไม่ใช่ social media อันแรกของโลก เกิดที่ฟินิกซ์คลับของ harvard คนจะเข้าคลับนี้ได้ ต้องเป็นหัวกะทิ ทุกคนอยากรู้จักคนที่อยู่ในคลับนี้ (อยากที่จะรู้จักกับคนที่เจ๋ง ช่วยยกระดับชีวิตได้) : founder เกิดในคลับ -> harvard -> .edu ลงทะเบียนได้ -> ครองโลก 

มี Workshop ต่อด้วยนะ (แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ให้ออกแบบ beauty application) แต่ไม่ได้อยู่แล้วอ่ะ เพราะว่าหิวข้าวววววมากก (ท้องร้อง) ขอจบช่วงเวลาหาความรู้ไว้เพียงเท่านี้ แฮ่ ^^"

** ขอขอบคุณวิทยากร & สถานที่ C-asean ที่จัดงานดีๆ (แถมฟรี) มา ณ ที่นี้นะคะ 

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ18 มีนาคม 2559 เวลา 11:17

    aom writer น่าจะเป็ IA Writer นะ ฟีเจอร์ใกล้เคียงกับที่อธิบายมา

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์ตรงกับการโดน Facebook บังคับเปลี่ยนชื่อ ทำอะไรไม่ได้นอกจาก "รอ"

สองชั่วโมง สองที่เที่ยว ด้วย เรือหางยาว เจ้าพระยา

น้องนีโม่ กับ โรคฉี่หอม