[STARTUP THAILAND 2016] ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "Startup and Innovation : the way of LINE"

ในระยะเวลา 4 วันนี้ (28 เม.ย. - 1 พ.ค.) คงไม่มีงานไหนฮิตไปกว่า "Startup Thailand 2016" อีกแล้ว (เวอร์ไปอีก) ครั้งแรกในประเทศไทยที่มีงานแบบนี้เชียวนะ! ต้องจารึกเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์เลยทีเดียว ซึ่งงานแบบนี้เราจะพลาดได้ยังไง!!! (จะตะโกนทำไม) อันที่จริงอยากไปตั้งแต่วันแรก เพราะมีคนไปงานเต็ม FB Feed เลย แต่มนุษย์เงินเดือนก็ต้องทำงานก่อนเนอะ

เข้าเรื่องดีกว่า Blog อันนี้เป็นเรื่องราวของปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ
"Startup and Innovation : the way of LINE"
โดย คุณอริยะ พนมยงค์, กรรมการผู้จัดการ LINE (Thailand)
ณ ห้องบอลรูม เวลา 10.00 น.
(นึกว่าจะไปไม่ทันซะแล้ว ถึงก่อนเวลาประมาณ 7 นาทีเอง)

เริ่มเลยแล้วกันนนนน


ประวัติของ Line 
  • อยู่มาไม่นาน ตั้งในปี 2011 ใน ประเทศไทยเปิด office ปี 2014 เราถือว่ายังเป็นบริษัทที่ค่อนข้างใหม่
  • หลังจาก operate มา 5 ปี สิ้นปี 2015 run rate ก็อยู่ที่ 1B$
  • ในประเทศไทยเราถือเป็นแบรนด์ที่ใหม่ แต่ภายในระยะเวลาแค่ 2 ปี ก็มีคนที่เค้าทำการ research ว่า best brand ในไทย มีอะไรบ้าง จาก 250 brand ผลก็คือ fb > line > youtube > google > apple iphone

Speed & Scale 

ธุรกิจของ Line ไม่ได้มีแค่ Chat แต่ยังมี 
  • Game : ประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดใน SEA ในแง่ของรายได้  -> ตอนนี้เรากำลังหาเกมที่ผลิตในไทยอยู่
  • E-commerce : Line shop, Gift shop ยังอยู่ในจุดเริ่มต้น
  • Content : Line TV, Line music, Sticker คนไทยเราไม่ค่อยยอมจ่ายค่าเพลง ค่าหนัง แต่จ่ายค่า sticker (อันนี้จริง!)
  • Business solution : พวก official account ของ brand ต่างๆ 
  • Payment : Rabbit Line Pay
  • New service : Develop ของใหม่ เพื่อผู้บริโภคคนไทย

รายได้ของ line มาจาก : Game, Sticker, Business solution (โฆษณา) ที่เหลือไม่ได้ทำเงิน

แล้วเราทำเพราะอะไร? : เราสร้างกลุ่มธุรกิจ/บริการใหม่ เพื่อที่อนาคตของพวกนี้อาจจะทำเงินให้เรา แล้วก็จะเติบโตแบบก้าวกระโดด เราต้องไปหาเอาว่าตัวไหนที่จะทำรายได้
แล้วตอนนี้ที่ทำรายได้ไม่ได้ ทำอะไร? : Build ให้เข้าถึงลูกค้าให้เยอะที่สุด เช่น Line TV ที่ตอนนี้มีคนดูเยอะขึ้นเรื่อยๆ

4 Trends of 2016 จากมุมมองของ Line

- Mobile first พูดกันมาหลายปี แต่ปีนี้ที่สำคัญคือ เรามีคนเข้าเน็ตผ่านมือถือ 40M (60-70% ของ ปชก. ไทย) และด้วยการประมูล 4G (อย่างน้อยก็มี 3 เจ้าช่วยดัน) ปีนี้น่าจะเห็น 50M แน่นอน และน่าจะเห็น 60-70M ในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 
- จอหลักของพวกเราคือ "มือถือ" ไม่ใช่ TV คนดู TV น้อยลงเรื่อยๆ แต่รู้ไหมว่า 80% พฤติกรรมของคนไทย ดู Content ของ TV บนมือถือ 


- E-commerce กลายเป็น M-commerce : 60% ของ Traffic เจ้าใหญ่ๆ มาจาก Mobile อีกอันที่น่าสนใจคือ Social commerce เป็นการดู content ผ่าน social แล้วก็คุยกับคนขายผ่าน Line หรือโปรแกรม chat อื่นๆ แล้วก็โอนเงินผ่าน online banking ส่วนนี้เป็นส่วนที่เติบโตเร็วมาก แต่ยังไม่มีใครวัดได้ เพราะการโอนเงินมันดูเหมือน c2c (customer to customer) แต่ความจริงแล้วมันคือ c2b (customer to business) คนที่ดูออกได้ มีอยู่กลุ่มเดียวคือกลุ่ม bank ดูว่าใครที่รับเงินอยู่ทุกวัน อันนี้ไม่ใช่ c แน่นอนแต่เป็น b ซึ่งจากข้อมูลของ kbank กล่าวว่า E-banking account มีการเติบโต 30%
อย่างที่เราได้ข่าวกันว่า Alibaba ก็ลงทุนซื้อ Lazada, Rakuten ปิดตลาดใน SEA, Zalora ขายให้ Central (ไทย, เวียดนาม) ปีสองปีนี้ E-commerce มันส์แน่นอน


- Apps in App (O2O service : online to offline) การใช้ uber, grab เราเริ่มจาก online แต่สุดท้ายสินค้าและบริการอยู่ในโลก offline
80% ของคนที่เข้าเน็ตผ่านมือถือใช้ Line ด้วยความง่ายของบริการ ทำให้ทุกกลุ่มอายุใช้งานสิ่งนี้
คนไทยใช้ "ทุกอย่าง" มากกว่าค่าเฉลี่ยของ Line 


วิสัยทัศน์ของเรา "Line beyond Chat" 
  • เราอยู่ในโลกที่เราอยู่นิ่งไม่ได้ 
  • chat เริมจาก bbm (เมื่อ 4 ปีที่แล้ว) -> whatsapp -> line 
  • หน้าที่ของทีมผมคือ เราต้อง make sure ว่าหลังจาก line ยังต้องเป็น line อยู่นะ


ให้ลูกค้า 33M คน ที่มาใช้ Line ไม่ใช่มาเพื่อ chat อย่างเดียว
วิสัยทัศน์นี้มาจาก 3 pain point หลักๆ ยกตัวอย่างเช่น App overloaded พวกเราอยู่ในโลกที่ในแต่ละ App store มี app จำนวน 1.5-1.6M, คนปกติมี apps ประมาณ 39 อันอยู่ในเครื่อง แต่ใช้จริงแค่ 17 แล้วใช้บ่อยจริงๆ ก็แค่ 4-5 app
การผลิต app ขึ้นมา 1 app คือการที่เราเข้าไปอยู่ในมหาสมุทรของ 1.5M ผู้บริโภคไม่มีความกระตือรือร้นที่จะลองทุก app หรอก ก็เลยเกิดแนวคิด App in App ขึ้น 
มันคือการเอา app ที่มีประโยชน์กับชีวิตคนไทยมาฝังใน Line ด้วยการพัฒนาเอง หรือ partner กับ startup ในไทย 
เรากำลังเปิด API บางตัว ให้บางกลุ่มช่วยพัฒนาให้เรา เช่น Go-Jek (คล้าย uber moto) สิ่งที่เราทำเมื่อเดือนที่แล้วคือ เอา Go-Jek มาฝังไว้ใน Line 


(Ro)Bot translator : ตอนที่ไปเกาหลี คนขับรถ add bot เข้ามาในการ chat แล้วมันก็มีหน้าที่แปล เกาหลี <-> ไทยให้ทันทีแบบ real time


การเปิด API ไม่ใช่แค่ startup ใช้ แต่ brand ก็ใช้ได้ เช่นที่ Japan เราสามารถคุยกับ Domino pizza ผ่าน Line แล้วก็สั่ง pizza ได้เลย (เอาบริการมาฝังใน official account) หรือ ธุรกรรมการเงิน คนใช้ online banking มีไม่เยอะ เมื่อเทียบกับฐานลูกค้าจริงที่ธนาคารมี ถ้าเอามาฝังใน Line ก็จะเข้าถึงทุกคนได้ (สิ่งที่เราจะเห็นปีนี้) หรืออย่าง Beartai ก็เริ่มขายของโดยตรงผ่าน Line แล้ว


Open business platform 
  • Web service
  • SME aggregator (ตัวกลาง) เช่น ระบบ(บริการ)จองร้านอาหาร เอามา plug ใน Line official account ของเรา แล้วก็ใช้ได้เลย 
  • Developers **กำลังจะเปิด bot API ด้วย

Line in Thailand
  • Rabbit (บริษัทน้องของกลุ่มที่ถือ BTS อยู่) กับ Line pay จับมือกลายเป็นบริษัทเดียวกัน เราต้องการให้เกิด Cashless society
    คนเดินทางด้วย BTS 20M คน ส่วน Line มีฐานลูกค้า 33M คน ถ้าต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภค เราต้องไปฝังอยู่ในสิ่งที่เค้าทำ เค้าใช้ BTS ใช้ร้านค้าบน BTS เราก็ต้องไปอยู่ตรงนั้น อนาคตจะใช้มือถือทำได้ทุกอย่าง (อีกไม่กี่เดือนน่าจะได้เห็นแล้ว)
  • Line man (beta) เป็นบริการแรกที่พัฒนาด้วยทีมไทย เพื่อผู้บริโภคคนไทย เป็นคนๆ นึงที่ทำทุกอย่างให้เราได้ คือ ส่งของ (basic), ซื้อและส่งอาหาร (จับมือกับ Wongnai ทุกอย่างที่อยู่ในวงใน เราจะสั่งได้หมดเลย) "เรื่องอาหารเป็นเรื่องใหญ่สำหรับคนไทย", Grocerry (จับมือกับ 7-Eleven) และยังมีอีกหลายบริการที่จะปล่อย ถือเป็น O2O service
  • Line_hack คือ Hackaton จะจัดขึ้น 14-15 May เราจะเปิด API ให้ startup, developer มาพัฒนาบริการใหม่ เราต้องการให้วงการนี้พัฒนา ช่วยเราหาบริการใหม่ โจทย์เดียวคือ "พัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ลูกค้า 33M คนได้ ไม่เอาหลักหมื่น" สมัครได้ถึง 7 May และประกาศผลว่าใครมีสิทธิ์บ้าง 9 May 
  • Dev team forming now หาอยู่ 10 คน ตั้งแต่ lead developer, SE, ios/android developer, QA

Q&A
  • เรื่องรายได้เป็นยังไง? -> แต่ละ startup อยู่ใน stage ไม่เหมือนกัน เรื่องของรายได้ เราจะดู business model ที่ยืดหยุ่น เหมาะกับแต่ละ stage เราอยากให้ win-win ด้วยกันทั้งคู่ ทุกคนที่เข้ามาต้องผ่านการ selective เบื้องต้น อันที่จริงเราต้องการแค่เจ้าเดียว บริการเดียวที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคของเราให้มากที่สุด เป็นบริการอะไรก็ได้ ที่ตอบโจทย์คน 33M คนได้ ทุก vertical ที่มี เจ้าละสาขา จะได้ไม่ชนกัน
  • ในกรณีที่มี in app จำนวนมาก จะมี visibility ยังไง? -> ให้นึกถึง bot store chat ที่จะกลายเป็น app store อันที่ 3 บริการพวกนี้จะไปฝังอยู่ในการ chat
  • คิดถึงการขยายตลาดไปฝั่งยุโรป อเมริกายังไง? -> ตลาดหลักของเราตอนนี้คือ Japan, Thailand, Indonesia, Taiwan ตอนนี้เราบุก Asia เป็นหลัก เนื่องจากวัฒนธรรมมีบทบาทเยอะมาก
    ทำไมฝรั่งชอบ whatsapp เพราะว่ามันเรียบง่าย จะส่งแค่ msg หรือ sticker ใน facebook ก็ basic มาก แต่คนไทย/เอเชีย ชอบอะไรที่มัน blinkๆ
    เราใช้ในการทำงานเหมือนกัน แต่การพูดถึงบริการของเราไม่เหมือนกัน ถ้าฝรั่งเค้าจะพูดถึง "บริการนี้ทำให้เรามี productivity เยอะขึ้น" (คนไทย: ใครอยากทำงานเยอะ?)
    Line เติบโตในไทยได้ เพราะ sticker ฝรั่งก็ไม่เข้าใจ Whyyy
    คนที่เป็น startup มีความโชคดีที่เราเข้าใจตลาดของเรา
  • ฝรั่งที่มาตีตลาดด้วยความคิดที่ว่า "คนไทยต้องจ่ายด้วยบัตรเครดิต" ไม่มีทางเจาะตลาดได้ ด้วยความเป็น Line เราเลยอยากลุยตลาด Asia ก่อน ต้องครองให้ได้ แต่เราก็ไม่ได้ทิ้งตลาดอื่น แต่กำลังคิดว่า การเข้าไปหาเค้าจะเป็นแบบไหน อะไรที่จะเหมาะที่สุด เราจะ localize บริการของเราให้เหมาะกับผู้บริโภคในตลาดนั้นๆ ได้ยังไง ก่อนอื่นต้องเอาทวีป Asia ให้ได้ก่อน 
  • Line village -> ที่ Siam Square one จะเปิด quarter 2 นี้ (3 ชั้น) จะเป็น store และ theme park เราเป็นบริษัทที่อยู่ในโลก online แต่ก็จะทำการตลาด offline ด้วย เป็นอีกทางที่จะ build brand ของเราได้ 
  • สื่อสิ่งพิมพ์ใน offline ที่กำลังจะตายไป จะเข้ามาอยู่ใน online ได้ยังไง? -> News digest ใน Line timeline ตอนนี้จะมีข่าวโผล่มา เรากำลังทำงานกับสื่อสิ่งพิมพ์ เรามี 3 ข่าว แล้วก็ลองลงวนไปมา (beta 0.1) สื่อสิ่งพิมพ์ถ้าอยู่แบบเดิม จะไปไม่รอด ต้องขยับเข้า online เค้าช่วยเรา เราช่วยเค้า (เราส่ง traffic ไป เค้าส่ง content มา)
  • Security msg -> ปลอดภัยจริงๆ นะ ไม่มีใครเจาะระบบเราได้ เราจะคอยลบข้อมูลอยู่เรื่อยๆ ด้วย
  • Line มีโครงการจะไปถึง AI? -> ทางทีม Japan กำลังศึกษาและพัฒนาอยู่ เป็นอนาคตที่ควรไป แต่เราเชื่อใน AI ขนาดนั้น? มันยังไม่ฉลาดพอ เอามันมาใช้ทำธุรกรรม/ธุรกิจ โดนด่าแน่ๆ ถ้าเอามาเล่นๆ ก็โอเค สนุกดี ตอนเราทำ bot translator ก็คิดว่าจะใช้ AI หรือ bot ในการ automate ซึ่งแค่ automate ก็ตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ 80% แล้ว อย่าคิดเยอะ การคิดเยอะไม่ใช่ว่าดี สิ่งที่ดีคือ ลงมือทำเลย
  • Visionear น้องที่พัฒนาอายุ 21 ปีเอง เป็นแว่นตาที่ทำให้คนตาบอดอ่านบางสิ่งบางอย่างได้ (ราคา 3,000 บาท) เช่น การเดินไปห้าง อ่าน barcode แล้วไปหาใน Database ก็พบว่ามันคือ Pocky นะ มีคู่แข่งคือ อ่านภาพได้ (ใช้เทคโนโลยี face recognition) อันนั้น 3,000$ ด้วยกฏ 80/20 ทำให้ลดราคา 3,000$ -> 3,000 THB ได้ 
  • สำหรับ Line เรายังไม่ถือว่าเรา success เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว 2 อย่างที่ Line มีคือ การ localize ที่ make sense ให้เหมาะกับคนไทยทั้งหมด ทำให้เราเติบโตได้เร็ว เช่น บริการ Line man เราไม่มี guideline, you can do anything แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน local team ต้องเข้าใจตลาดอย่างถ่องแท้ อีกอย่างคือ เรา work close with startup community 

If we do something great, Everyone can learn from us
Speed and Scale
Flexibility 


จบละค่าาาาา วันนี้ไปฟังมา 4 sessions อยู่ที่ห้องบอลรูมหมดเลย... ไว้มาเขียนต่อนะ > <"

พรุ่งนี้งานจัดเป็นวันสุดท้ายแล้ว งานดี ความรู้เพียบ แรงบันดาลใจอื้อ ใครที่ว่างๆ อยากให้ลองไปเดินเล่นกันน้า ^^" รายละเอียดของงาน ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยจ้า http://www.thailandstartup.org/ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์ตรงกับการโดน Facebook บังคับเปลี่ยนชื่อ ทำอะไรไม่ได้นอกจาก "รอ"

น้องนีโม่ กับ โรคฉี่หอม

สองชั่วโมง สองที่เที่ยว ด้วย เรือหางยาว เจ้าพระยา