เทคนิคการออมเงินแบบมนุษย์เงินเดือน ออมก่อนรวยกว่า!

เมื่อปลายเดือน ก.พ. (2559) ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปฟังพี่บี #ywc4 แชร์ประสบการณ์ เทคนิคการออมเงินแบบมนุษย์เงินเดือน อันที่จริงแล้วงานนี้เป็น Private Event ที่ทางทีมของพี่บีเค้าจัดกันใน Office เค้า แต่เราบังเอิญไปเห็น Facebook Status ของพี่บีที่โฆษณาเรื่องนี้ ไปๆ มาๆ ก็เลยเกาะมาฟังด้วย แฮร่ :P

สำหรับ YWC ที่มาเกาะขอบจอขอความรู้วันนี้ ได้แก่ พี่ตอง พี่ปุ้ม (#6) เรา จิม (#9)
พี่บีแนะนำให้น้องในทีมรู้จักว่า YWC ว่าเป็นสมาคมลับ... #เหลือกตามองบน มันก็ไม่ลับขนาดนั้นม๊ายยย แค่แทรกซึมไปแทบจะทุกส่วนของวงการไอที ดิจิตอลก็แค่นั้นเอ๊งงงงง

** พื้นที่ขายของ **
  • สำหรับเด็กมัธยมปลายหรือเทียบเท่า เรากำลังจะมี ค่าย JWC นะคะ ติดตามรายละเอียดการเปิดรับสมัครได้เร็วๆ นี้
  • สำหรับเด็กมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่า ค่าย YWC จะเปิดรับสมัครช่วงปลายปี อย่าลืมเตรียมผลงาน สมัครมาเป็นครอบครัวเดียวกันนะคะ อิ_อิ
กลับเข้าเรื่องค่ะ!

พี่บีเล่า Background ของตัวเองให้ฟังคร่าวๆ ว่า 
  • เป็นคนที่รู้จักการใช้จ่ายอย่างพอดี
  • ทำธุรกิจส่วนตัวมาตั้งแต่ตอนเรียน (ทำ hosting, รับงานนอก)
  • ทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนมา 14 เดือน (ปีกว่าๆ) มีเงินล้านแรกในชีวิต (จากที่มีตั้งต้น 400k) ซึ่งตอนนั้นเงินเดือนแค่ 20k แต่สามารถเก็บเงิน 40k ได้ เพราะมีการรับงานนอกเพิ่มเติม
  • เครื่องมือทางการเงินมีอยู่เยอะมาก 

หลักการออมเงิน

เงินออม = รายรับ - รายจ่าย >> สำหรับคนที่มีวินัยในการใช้เงิน หรือเป็นคนที่ใช้จ่ายเงินอย่างรู้คุณค่า
เงินออม = เงินที่เราเลือกที่จะออม โดยที่เราไม่เดือดร้อนในการใช้จ่าย

ล้านแรกหายาก แต่พอหาได้แล้ว ล้านถัดไปจะหาง่ายขึ้น 
ส่วนตัวพี่บีก็คิดว่าเป็นเรื่องจริง

ลองคิดง่ายๆ 

  • 20% ของ 100 = 20
  • 20% ของ 10,000 = 2,000
  • 20% ของ 1,000,000 = 200,000

เห็นไม๊ว่ามันมีพลังซ่อนอยู่ข้างในตัวเลขเหล่านี้
คนที่จะหาได้ล้านนึง ก็ต้องใช้ความพยายามในการเก็บ
ยิ่งถ้ารู้จักวิธีเอาเงินไปลงทุน หรือเก็บเพิ่ม มันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเร็วไปอีก
การออมเงินเรื่อยๆ คือการสร้างนิสัย

ออมก่อนรวยกว่า

Albert Einstein กล่าวถึงการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 20 นั่นก็คือ "ดอกเบี้ยทบต้น" ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความมั่งคั่งให้แก่เงินออม อย่างไรก็ตาม นอกจาก "จำนวนเงินต้น" กับ "อัตราดอกเบี้ย" แล้ว "ระยะเวลา" ก็เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะยิ่งมีระยะเวลานาน ยิ่งส่งผลให้เงินออมเพิ่มพูนขึ้นในอัตราทวีคูณ

อันนี้เราลองคิดเอง

ตัวแปรทุกอย่างเท่ากันหมด ต่างกันแค่ อายุที่เริ่มต้นออมเงิน (ต่างกัน 4 ปี)
เงินต้นต่างกันไม่ถึงแสน แต่ได้ดอกเบี้ยต่างกันตั้งห้าแสน OMG!


ลองอีกแบบ อายุที่เริ่มต้นออมเงิน (ต่างกัน 8 ปี) คนที่เริ่มทีหลัง ให้ออมมากกว่า 2 เท่าเลยด้วย
คนที่เริ่มทีหลัง ต้องใช้เงินต้นมากกว่าถึงสี่แสน แต่ได้ดอกเบี้ยมากกว่าคนที่เริ่มก่อนไม่ถึงแสนด้วยซ้ำ
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ด้วยพลังของดอกเบี้ย คนเริ่มออมก่อน ได้รับดอกเบี้ยทบต้นก่อน จึงมีเงินมากกว่า
ทดลองคิดเองได้ที่นี่เลย online_classroom/saving

ภาพจาก http://mamiverse.com/wp-content/uploads/2014/11/Save-Yourself-13-Odd-Ways-to-Trick-Yourself-into-Saving-Money-MainPhoto.jpg

การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ

  • การเป็นหนี้ คือ การใช้จ่ายเกินเงินที่เรามีอยู่ (การใช้เงินเกินตัว)
  • การใช้บัตรเครดิต คือ การสร้างหนี้โดยที่ไม่รู้ตัว
  • ใช้แล้วไม่จด ก็เจ๊งเหมือนกัน
  • การมีหนี้เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเป็นไปได้อย่ามีหนี้
  • ถ้าต้องซื้อบ้าน? มันก็ต้องเป็นหนี้อะสิพี่ ใครจะไปมีเงินสด! ...มันไม่ใช่ทุกอย่างที่การเป็นหนี้จะเป็นข้อเสียเสมอไป 
  • หลักการมีไม่กี่ข้อ รู้แล้วเอาไปใช้กันหรือเปล่า?

วิธีปฏิบัติจริง เพื่อที่จะปฏิวัติตัวเอง

1) จดบันทึก เป็นหัวใจสำคัญที่สุด

การจดบันทึกเป็นข้อมูลพื้นฐานของทุกเรื่อง ถ้าเราไม่จดอย่างจริงจัง มันก็จะกลายเป็นการกะๆ เอา ทีนี้เลขมันก็จะไม่เท่ากัน รายรับจะไม่เท่ากับรายจ่ายและเงินออม

ตัวอย่างของพี่บีแบ่งเป็น 
  • ที่พัก (ค่าเช่า, ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าบลาๆ) 10k
  • อาหาร 6k
  • อื่นๆ 4.5k
  • Accessory 2k
  • ค่ารถ 2k
  • ค่าน้ำมัน 1k
  • ออกกำลังกาย 0.8k
  • รวมๆ ก็ประมาณ 26k
  • ไม่รวมเงินที่ให้พ่อแม่ 8k
  • เหมาๆ ก็มีค่าใช้จ่าย 32k

* จดอะไรก็ได้ ที่ง่ายและเร็วที่สุด โปรแกรมอะไรก็ได้ ที่กดแล้วเปิดเร็วที่สุด อย่างพี่บีใช้ google keep แล้วค่อยไปใส่โปรแกรมอีกที 
* ต้องจดเสมอ อย่าจำไว้ก่อน เพราะมันจะจำไม่ได้ ให้เอาสมองไปคิดอย่างอื่น ไปคิดเรื่องงาน อย่าไปจำเยอะ

2) ตั้งเป้าหมายไปให้ไกลๆ 

  • ตั้งเป้าให้ใหญ่ เพื่อให้เป็นแรงผลักดันและพยายาม อย่างที่มีคนกล่าวไว้ว่า ตีลูกกอล์ฟไปให้ถึงดวงจันทร์ ถึงพลาดก็ยังอยู่ท่ามกลางดวงดาว เช่น ตั้งเป้า 1M แต่ได้มา 500k มันก็ยังได้ไง (แทนที่จะไม่ได้อะไรเลย) 
  • ตั้งเป้าไม่ใกล้เกินไป ไม่ไกลเกินไป ให้มีความ challenge ต้องทำให้ได้ ไม่ใช่ตั้งแล้วทำไม่ได้ 
  • ตั้งเป้าแล้วต้องระบุเวลา อย่าตั้งเป้าลอยๆ อย่างเช่นเงินเดือน 20k จะเก็บเงินให้ได้ 100k ภายใน 1 ปี ก็จะมีความ challenge พอสมควร

ตอนที่พี่บีเรียนมัธยม เคยอ่านกระทู้ที่แบบ เงินเดือน x บาท บลาๆ ก็มีความคิดว่า เห้ย มันเจ๋งมากเลย มีความเชื่อว่าเราต้องทำได้ ภายในอายุ 30 ปี ซึ่งพี่บีสามารถทำได้จริงตอนอายุ 28 ปีเท่านั้น 
หรือ ตั้งเป้าเงินเก็บ y บาท ในเวลาไล่เลี่ยกัน อันนี้ก็สามารถก็ทำได้เหมือนกัน

หรือ ตั้งเป้าเป็นบ้าน, รถ ราคา 3.5M ในเวลา 5 ปี
แบบนี้เราก็ผ่อนได้นะ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเก็บเงินเท่านี้ในระยะเวลา 5 ปี ไปซื้อสด เดี๋ยวไม่ได้ซื้อกันพอดี เวลาผ่อนให้เอาเงิน 40% ของรายรับไปผ่อน พอได้ตัวเงินมาแล้ว ก็คิดกลับไปว่า ต้องมีเงินเดือนเท่าไหร่ สมมติคิดเร็วๆ ว่าต้องมีรายรับ 80k ทีนี้ทำยังไงให้มีรายรับ 80k จะมาจากเงินเดือน? รับจ้างเพิ่มเติม?

3) ตั้งเป้าเงินเก็บ

เช่น เก็บเงิน 500k ภายใน 5 ปี ด้วยเงินเดือน 20k 
ก็มา break ว่า ปีละ 100k ก็ตก 8,333 บาท เหลือเงินใช้ 10k นิดๆ ต่อเดือน
ก่อนจะคิดว่าเราจะทำได้ไม๊ อย่าลืมจด 

4) ตัดการใช้ 

ง่ายกว่าหาเงินเพิ่ม มันเป็นเรื่องของการตัดกิเลสตัวเองล้วนๆ เลย
ช่วงทำงานปีแรกๆ พี่บีตามรอย pantip (ร้านเด็ด ร้านอร่อย) ทุกวันศุกร์ จนถึงจุดนึงที่ "ทำไมเราอ้วนขนาดนี้วะ?" การกินคือความสุข ก็ไม่ได้เลิกกิน แต่ก็ไปออกกำลังกายเพิ่มด้วย

เมื่อเราทำค่าใช้จ่ายเสร็จ ก็มา Scope เป็น Group แล้วดูว่า ตัดอะไรได้บ้าง เช่นพวก Gadget ออกใหม่ vs บ้าน รถ อะไรสำคัญกว่ากัน 

กาแฟ Starbucks สมมติว่าตีเลขกลมๆ 100 บาทต่อแก้ว กินเฉพาะวันทำงานก็ตก 2k ต่อเดือน ยังไม่รวมค่าขนม ค่าอะไรต่อมิอะไร ไหนจะ ส. อา. อีก กาแฟที่ office ก็มีให้ชงกิน มันจะไปยากอะไร มันต้องเปลี่ยนที่ตัวเราเอง อะไรที่เรามองว่ามันดี ให้คิดซะว่ามันไม่ดีอีกต่อไป เครื่องกรองน้ำยังมีเปลี่ยนไส้กรองได้ ร่างกายเรา เอาไตไปเปลี่ยนได้ง่ายๆ ไม๊​ (คำพูดนี้เหมือนโดนมีดเสียบกลางอก) การกิน Buffet เวลาที่เรากินเสร็จ รู้สึกไม๊ว่าร่างกายมันร้อน เหงื่อแตก ก็เพราะร่างกายใช้พลังงานในการย่อยสลายมหาศาลมาก เราคิดถึงอวัยวะภายในเราบ้างไม๊ (คำพูดนี้เหมือนโดนค้อนทุบกลางหัว) อะไรที่เราเคยเห็นข้อดี ให้มองอีกแง่ดูบ้าง

ซื้อบ้านวันนี้ 3M ผ่านไป 10 ปี มูลค่ามันเพิ่ม อาจจะเป็น 4-5M
ส่วนรถยนต์ มูลค่ามันลดลงเรื่อยๆ ปีแรกก็ลดแล้วอย่างน้อยก็ 100k นี่ยังไม่รวมค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา ค่าสึกหรอ ค่าเปลี่ยนยาง ค่าประกัน ค่านู่นนี่นั่นอีก แต่ถ้าเราซื้อรถเพื่อจะไปขายของตลาดนัด วัน ส. อา. อันนี้โอเค เราซื้อมาเพื่ออะไร? (มีคนในห้องตอบ: การขยายเผ่าพันธุ์ #เอ่อม... มันก็ไม่ใช่ มันต้องคิด) 

แฟนพี่กลับบ้านที่จันทบุรีทุกเดือน ตอนแรกก็จะซื้อรถ แต่การซื้อรถเนี่ย มีค่าใช้จ่ายที่มองเห็นและไม่เห็นปีละประมาณ 130k แต่ถ้าเราเช่ารถ รถที่เราไปเช่า ร้านเค้าดูแลดี ของทุกอย่างเกือบใหม่เสมอ วันละพันสองพัน แล้วแต่รุ่นที่เลือก เราจ่ายค่าน้ำมันเอง คิดเร็วๆ เราเสียค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 50k เอง

ทางเลือกมันมี แค่มองหาให้มันเจอ 
ทางเลือกมันมี ขึ้นอยู่กับว่าเรามองเห็นไม๊

พี่บีแนะนำให้อ่านหนังสือ : ชีวิตดีขึ้นทุกๆ ด้าน ด้วยการจัดบ้านแค่ครั้งเดียว ของ คนโด มาริเอะ 
เล่มนี้ดีมาก จะช่วยลดสภาวะบ้าซื้อของ (ตอนนั้นแค่อยากได้ ตอนนี้ก็มาคิดว่า นี่ซื้อมาทำไมวะ)

** เล่มนี้เราอ่านแล้วเหมือนกัน ดีมากจริงๆ จากที่ไม่กล้าทิ้ง/บริจาค เสื้อผ้าสมัยมัธยม/มหาวิทยาลัย เพราะคิดว่า เห้ย เราย้อนเวลากลับไปไม่ได้แล้วนะ นี่เสื้อกีฬาสี เสื้อค่าย เสื้อภาควิชา เสื้อคณะ บลาๆ พออ่านเล่มนี้จบ บริจาครัวๆ ได้เลยจ้ะ สภาพตู้เสื้อผ้าที่ล้นจนแทบจะไม่มีที่ยัด ว่างขึ้นประมาณ 50% ได้
แต่ตอนนี้ทำได้แค่เสื้อผ้านะ ยังไม่สามารถย้ายไปจัดการ Category อื่นๆ ได้ 

หลักการง่ายๆ คือ ถ้าเราจับมันขึ้นมา "ทีละตัว" แล้วเราไม่ได้รู้สึกมีความสุข ภายในไม่กี่วินาที ให้โยนมันทิ้งไปเลยยยยย

ภาพจาก http://i15.photobucket.com/albums/a382/blankpapers/konmari_zpsqyyr8k4g.jpg
ถ้าเรามาทำงาน ไม่เก็บเงิน แล้วเกิดอุบัติเหตุ เป็นอะไรไปสามเดือน ไม่มีรายรับ จะเอาเงินที่ไหนใช้?

5) วิเคราะห์ต่อเนื่อง

พี่บีจดบันทึกทุกวัน แล้วก็นั่งดูกราฟ เห็นเงินที่มันโตขึ้นทุกวันแล้วรู้สึกดี ถ้าเป็นมนุษย์เงินเดือน เดือนนึงก็มาวิเคราะห์ทีนึง ดูว่าเราใช้เท่าไหร่ บวกลบ โยกส่วนไหนได้ไม๊ ถ้ามัน Sum กันแล้วเงินเก็บเพิ่มขึ้น มันก็โอเค แต่ถ้ามันติดลบ ก็ต้องมาดูว่า เราตั้ง Budget น้อยไป หรือ เราบริหารตัวเองไม่ดีพอ ซึ่งไม่อยากให้มองแง่ Budget เพราะเราจะขยายมันไปเรื่อยๆ 

การเดินทางมาทำงานมีหลากหลายวิธี ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ลองเปรียบเทียบในแต่ละรูปแบบ ถ้าเวลาไม่ได้เป็นเงินเป็นทอง (แบบผู้บริหารใหญ่โต) ยอมนั่งรถเมล์เพิ่ม 1 ชม. แทนที่จะไปดูละครหลังข่าว มันก็ไม่ได้เสียหาย แต่ถ้าวันนึง วันที่เราทำงานเยอะขึ้น แล้วตระหนักว่า เวลามันสำคัญ อันนี้ก็ต้องยอมแลก 
หรือการซื้ออาหารกิน รู้กันไม๊ว่า หลัง 19.00 น. พวก Supermarket ก็จะลดราคาอาหารปรุงแล้ว แทบทุกที่เลย (อันนี้รู้ค่ะ ไปเดินดูบ่อย 555+)

6) จงระวังความอยาก 

มันก็คือกิเลสแหละ มันเป็นอะไรที่เราต้องคิด ถ้าอยากได้ เพื่อมาเพิ่มมูลค่า เช่น การซื้อ Notebook รุุ่นใหม่ เพื่อมาคืนทุนภายใน 1 เดือน อันนี้โอเค แต่ถ้าซื้อใหม่เพื่อเอามาโชว์ อันนี้ไม่ใช่ ลองกลับไปดู Gadget ที่บ้านตอนนี้ว่ามีอยู่แค่ไหน เงินที่เราใช้ไป เอามาทำอะไรได้บ้าง?

7) ระวังบัตร 

บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เป็นดาบสองคม พี่บีใช้บัตรเครดิตมาตั้งแต่เริ่มทำงาน ไม่เคยโดนดอกเบี้ย แถมยังได้สิทธิพิเศษอย่างอื่นด้วย เช่น ดูหนัง กินข้าว ที่ต้องคิดไว้เสมอ คือ ให้จ่ายเมื่อไหร่ ก็จ่ายเมื่อนั้นแหละ การใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องคือ ใช้เมื่อไหร่ จดเมื่อนั้น หรือ เก็บสลิปไว้เสมอ ในที่ๆ มันจะไม่หายระหว่างเดือน จำ Due date ให้ได้ เอาสลิปมานับ แล้วก็ไปถอนเงินธนาคารมาเตรียมจ่าย

การจ่ายทีละ 10% เป็นหายนะ เพราะจะเจอดอกเบี้ยทันที ถ้าทำแบบนี้ เมื่อไหร่มันจะหมด ถ้าไม่หยุดรูด ดอกเบี้ยที่เพิ่มมามันเท่าไหร่?

หรือ วันนี้รูดไปเท่าไหร่ ไปถอนเงินออกจาก ATM มาเก็บเอาไว้ 
หรือ รูดไปเท่าไหร่ กดออนไลน์ จ่ายเงินค่าบัตรเครดิตไปเลย

ใช้จ่าย 25k บาท ได้ 1k แต้ม ก็เป็นค่าตั๋วหนังได้ละ
อย่าเอาบัตรเครดิตกดเงินสด เพราะโดนทันที 3% (ดอกวิ่งรายวัน)
บัตรกดเงินสด ไม่แนะนำให้ทำ ดอกวิ่งตั้งแต่วันที่รูดทันที ดอก 27% ต่อปี (4% ต่อวัน ต่อเดือน) มันคือ สินเชื่อ (หนี้) มันไม่ได้แต้ม 

ถ้ากดเงินมาให้คนอื่นกู้ แล้วได้ดอกเบี้ยมากกว่า อันนี้โอเค แต่ถ้าเค้ากู้แล้วหายไป ใครรับผิดชอบ?
ถ้าซื้อหุ้น 100 โตไป 120 มันโอเค แต่ถ้ามันเหลือ 90 ทำยังไง #การลงทุนมีความเสี่ยง

8) ตั้งใจทำงาน

ยังไงซะมนุษย์ทำงานก็พึ่งเงินเดือนเป็นหลัก
ถ้าจะทำงานนอก แล้วงานใน office คุณยังดี อันนี้โอเค ไม่ใช่ทำงานนอกแล้วงานหลักพัง อันนี้ก็ไม่ใช่


เครื่องมือที่ใช้

  • k-expert saving memo 

ใช้งานได้ดี มีการอัพเดทตลอด กรอกๆ เข้าไป แล้วออกมาเป็นกราฟแท่ง pie chart เหมาะสำหรับมือใหม่ ใช้เบื้องต้น (รายรับ รายจ่าย ประกัน ltf rmf)
  • Mobile application
มีหลายตัวมาก เลือกตามจริตของตัวเองเลย ที่ยกตัวอย่างกันในห้องก็มี

- Money lover : sync กับ email สามารถย้าย device ได้ นอกจาก track ได้แล้ว ยังตั้งเป้าหมายได้ด้วย 
function basic = free, ถ้าอยากได้ function เพิ่มก็ซื้อ 199 บาท
- iXpenself คิดภาษีได้ ถ้าจะซื้อพันธบัตร ก็จะเช็คได้ว่าที่ไหนดี จำข้อมูลค่าใช้จ่ายการเดินทางจากคนที่ใช้แอพนี้ได้ เช่น มีคนเคยขึ้นมอไซค์ 20 บาท เราก็จะขึ้น 20 บาท พี่วินอย่ามามั่ว 30 บาทกับเรานะ
- ibearmoney 
- Oh My Cost! 
- พี่บีใช้ GnuCash มาตั้งแต่ปี 2008 ปัจจุบันก็ยังใช้มันอยู่ ค่อนข้างละเอียด ดูทรัพย์สินได้ ใส่หลายบัญชีได้ การใช้งานครั้งแรกยุ่งยากมาก เป็นออฟไลน์ล้วนๆ
  • ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย เป็นวิธีเบสิค ทำให้เราเห็นย้อนหลัง แต่มันเอามา analyze ต่อลำบาก

การบริหารเงินเก็บ

เงินฝากได้แค่ 0.5% แต่เงินเฟ้อ 3.8% 
มีเงินเท่าเดิม แต่ซื้อของได้น้อยลง ฮือออออ T T

กองทุนรวม

เอาเงิน (เราและคนอื่นๆ) ให้คนอื่น (อาจจะเป็นนิติบุคคล) บริหารให้เรา หรือ รวมเงินกันไปซื้อตราสารที่มีดอกให้เยอะกว่าธนาคาร เช่น กองทุน Office รวมตัว รวมเงินกัน แล้วไปให้ กสิกร บริหารให้ โดยมีเงื่อนไขคือ ไม่เอาความเสี่ยง ขอดอกเบี้ยมากกว่าออมทรัพย์

ตราสารหนี้ ออกทีก็หมื่นล้าน กสิกรก็ต้องไปรวมเงินมาเยอะๆ เอามาจัดการให้ แล้วก็กินค่าหัวคิวไปนิดนึง 

กองทุนรวม มีหลายแบบมาก เช่น 
  • ตราสารหนี้ภาครัฐ (ดอกเบี้ยต่ำเตี้ยเรี่ยดิน แต่รัฐไม่มีวันล้ม ยังไงรัฐก็ต้องจ่าย)
  • ตราสารหนี้ภาคเอกชน 
  • กองทุนรวมแบบหุ้น เอาดัชนีหุ้นมา ยกตัวอย่าง set 50 คือ การรวมหุ้น 50 ตัวแรกที่มีผลประกอบการดี กสิกรก็จะไปเข้าซื้อทีนึง 50 ตัวเลย เราก็จะเป็นเจ้าของกิจการอยู่ 0.000000...1% ถ้า 1,000 จุด พรุ่งนี้เพิ่มเป็น 1,010 จุด ก็ได้กำไร วันมะรืนเหลือ 900 จุด ก็ขาดทุนพรวด ถอนตัวได้ แต่ก็ต้องดูตลาดเอง
  • กองทุนผสม เอาตราสารหนี้ รวมกับ กองทุนหุ้น อันนี้ขึ้นกับ ผจก. กองทุน ว่าจะ balance ยังไง ต้องดูย้อนหลังเอาเอง พี่บีเคยลงของกรุงเทพ แล้วเจ็บมาแล้ว (ตอนหุ้นลง ยกออกไม่ทัน ตอนหุ้นขึ้น ยกใส่กลับไม่ทันอีก)
  • กองทุนทองคำ เวลาเราซื้อทอง บาทนึง 20k ก็ไปเปิดบัญชีกองทุน ซื้อทองทุกเดือน เดือนละ 1k บาท ซึ่งมันจะขึ้นลงตามราคาทอง (ทำไมคนเล่นทอง? เพราะคิดกันว่า ทองเป็นแร่โลหะ ยังไงก็มีวันหมด ถ้าทองหมด ของก็จะแพงขึ้น หรือถ้าเกิดสงคราม ทองก็จะเป็นตัวแลกเปลี่ยนที่ดีกว่าเงิน) อย่าง 5 ปีที่แล้ว ทอง ~ 25k อยู่ๆ ก็ลดพรวดเหลือ 17k แต่ตอนนี้มันก็เริ่มกลับมาละ ทองมันเหมือนหุ้น #การลงทุนมีความเสี่ยง ต้นทุนทองตอนนี้ 19,500 เฉลี่ยกำไรทอง บาทละพัน 
  • กองทุนรวมบางตัว ผูกกับ อัตราแลกเปลี่ยนเงิน ตปท. อีก ดูให้ดี

กราฟมันมีขึ้น มีลง คำถามคือ ใครรู้อนาคต? 

คำศัพท์เพิ่มเติม
DCA = Dollar Cost Averaging การลงเท่าๆ กันในทุกๆ เดือน ไม่สนใจว่ามันจะถูกหรือแพง 

หุ้น 

  • หุ้น Z ตอนนี้ประมาณ 30 บาท ต้องซื้ออย่างน้อย 100 หุ้น = 3k บาท ถ้ามันตก 10% ก็หายไป 10% เหมือนกัน
  • ปตท. 260 บาท x 100 หุ้น = 26k บาท : วันนี้ตลาดบวก เขียว แต่ ปตท. แดง ถ้าเราซื้อ ปตท. เราก็แดงด้วย
  • ช่วง 2009 - 2012 ทำให้หลายคนกลายเป็นเศรษฐีหุ้น
  • ถ้าอยากลองเล่นหุ้น ปีนี้ให้ลองกลุ่มสื่อสาร 
  • มีการพูดถึง future คือ ซื้อขายได้สองทาง เช่น เข้า 10 บาท จะออก 8 บาท เราจะได้กำไร 2 บาท แต่ต้องเล่นให้ถูกทาง future เล่นจุดละ 1000 บาท ถ้ามันลงแต่แทงขึ้น ก็ซวยไป ไม่แนะนำให้เล่นตัวนี้ (ขนาดฟังพี่บีอธิบายยัง "งง" เลยฮะ)

เงินที่เอามาซื้อ ต้องเป็นเงินเย็น ห้ามเอาเงินร้อนมาซื้อ แนะนำให้ลองหุ้นถูกๆ แล้วจับอารมณ์ตัวเองดู 

เงินฝากประจำ

  • 3 6 9 12 24 เดือน ห้ามถอนก่อนกำหนด ถอนก่อนได้ แต่เสียภาษี ประมาณ 1.7% แต่ถ้าจะเอาอันนี้ ไปลงกองทุนรวมดีกว่า ยกเว้น กองทุนรวมแบบปิด เช่น 3 เดือน ก็ห้ามขาย แต่พอครบเดือนก็จะขายคืนให้ 
  • ออมทรัพย์ 0.5%
  • มันจะมีประเภทอื่นอีก แต่เราฝากไม่ได้ เช่น ขั้นต่ำ 1M (บ้าแล้ว)

พี่บีมองว่า 24 เดือน ดีที่สุด ให้ฝากจำนวนเท่าๆ กัน 2k-25k ต่อเดือน (ตอนนั้นพี่บีได้ 3.7%) <- เมื่ออาทิตย์ที่แล้วเราไปเดินดูตามธนาคารต่างๆ มา ตอนนี้ดอกเบี้ยฝากประจำง่อยมากค่ะ
(พี่ตั้มแชร์ -> lynn philip ร้อยละ 4% เริ่ม 1k-5M)

แนะนำให้ทำตอนที่ดอกเบี้ยเงินฝากสูง แล้วกำลังจะลงมาต่ำ แต่ต้องดูเงื่อนไขดีๆ
1 คน มีได้ 1 บัญชีเท่านั้นในช่วงเดียวกัน ถ้าสรรพากรตรวจเจอ จะเจอดอกเบี้ยเงินฝาก

น้ำมัน

จาก 100$ -> 30$ ต่อบาร์เรล ทั้งๆ ที่เค้าบอกว่าน้ำมันจะหมด ทำไม? หลักการเศรษฐศาสตร์ง่ายๆ 

ความต้องการสูง คนเอาเข้ามาน้อย ราคาแพง
ความต้องการต่ำ คนเอาเข้ามาเยอะ ราคาต่ำ ของล้นตลาด

USA ดันคิดวิธีผลิตน้ำมันได้จากถ่านหิน OPEC ก็งงว่าทำไม USA ส่งออกได้ ทีนี้ก็ช่วยกันผลิตใหญ่ แต่ทุกคนรู้ว่าโลกร้อน ช่วยกันหาพลังงานทดแทน ทีนี้ของก็เลยเหลือเยอะ ราคาก็ถูกเลยจ้ะ

ทรัพย์สิน

อะไรก็ได้ที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ เช่น ทองแท่ง 1 สลึง, 1g (~ 2k บาท) จะซื้อทองแท่งเก็บที่บ้าน หรือเปิดกองทุนทองคำก็เลือกเอา
** อสังหาริมทรัพย์ น่าลงทุนที่สุด เพราะคนต้องการที่อยู่อาศัย

ประกันชีวิต

  • คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ทำ เพื่อครอบครัวและคนที่เราห่วง
  • มีหลายรูปแบบมาก ถ้า > 10 ปี เอาเบี้ยประกันมาหักภาษีได้ บางประกัน เวนคืนได้อีก เช่น จ่ายครบ 5 ปี แล้วต้องการใช้เงิน ก็เอากรมธรรมภ์มาค้ำ หรือขอถอน ไม่ทำแล้ว ก็จะได้เงินคืน แต่ไม่เท่ากับที่เราจ่ายไปนะ มันจะคุ้มก็ต่อเมื่อ 7 ปี++ 
  • คนจะตาย ยังไงก็ตาย ไม่มีใครรับประกันได้ 
  • ประกันแบบจ่ายเปล่า ไม่เอาเงินคืน จะจ่ายเบี้ยถูกแต่คุ้มครองแพง แต่ถ้าเอาเงินให้เค้าบริหาร ความคุ้มครองก็ต่ำหน่อย
  • ลองไปดู AIA unit linked มีให้เลือกหลายแบบ จ่ายขาดครั้งเดียว จ่ายทุกเดือน จ่ายทุกปี สมมติเราลงเงินไป 10k เค้าจะกันเงินเป็นส่วนๆ ให้ เช่น 3k ไปทำประกันชีวิต 2k ไปทำประกันสุขภาพ 5k เอาไปลงทุน คุ้มครองการตาย 100k แต่ถ้าวงเงินที่เราไปลงทุน มีค่ามากกว่า 100k ตอนเราตาย คนข้างหลังจะได้ 150k มันจะมีค่าธรรมเนียมด้วย ต้องลองดูดีๆ 
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ

เราต้องมีเงินเก็บให้พออย่างน้อย 6 เดือน หรือ 1 ปี ในกรณีที่เราไม่มีเงินเข้าเลย ต้องอยู่ให้ได้ ให้เก็บไว้ในออมทรัพย์ ซึ่งไม่รวม เงินที่เผื่อป่วย เผื่อให้ที่บ้าน นอกเหนือจากนั้น จะเป็นเงินเย็น ค่อยเอามาลงทุน 

ขอบคุณพี่บี และพี่ๆ คนอื่นที่ช่วยแชร์ความรู้
ขอบคุณพี่บีที่อนุญาตให้น้องๆ​ (ขอบ)ตาดำบุก office มาฟังเรื่องราวดีๆ 
ขอบคุณสถานที่ Silom 19 6/F ที่คุ้นเคย (มาบ่อยยังกะเป็น office ตัวเอง)

** พื้นที่ขายของ **

ตอนนี้พี่บีทำงานอยู่ที่ Central Online (ฝั่ง IT) ซึ่งกำลังเปิดรับสมัครพนักงานหลายอัตรา หลายตำแหน่ง ถ้าสนใจทำงานที่มีความ Challenge สวัสดิการดี อุปกรณ์ไอทีครบครัน มีทีมน่ารักเป็นกันเอง มีหัวหน้าที่เก่งและเข้าใจลูกน้อง กรุณาติดต่อหลังไมค์ที่พี่บีเลยค่ะ 

(ถ้าพี่ได้คน ขอแบ่งค่านายหน้าด้วยนะคะ 555+)


Blog จากคนที่ไปฟังมาเหมือนกัน แต่เขียนเสร็จก่อน (เราดองนั่นเอง) : ออมก่อน รวยกว่า ของ พี่ตอง 

~~ เนื้อหาสาระของพี่บีจบแล้วค่ะ ~~
ด้านล่างเป็นเรื่องของเราเอง... บอกไว้ก่อน จะได้ไม่คาดหวัง 55+

เราเป็นคนรู้จักออมเงินมาตั้งแต่เด็กๆ (ครอบครัวสำคัญมาก พื้นฐานนิสัยตัวเองก็เช่นกัน ไม่ได้งกนะ เรียกใช้เงินเป็น #ร้อนตัวทำไม 55+) จำได้ว่า หยอดกระปุกมาตั้งแต่เด็กๆ แล้วก็มีบัญชีออมทรัพย์ครั้งแรกที่เป็นชื่อตัวเอง เปิดบัญชีเองตอนอยู่ประถมปลาย เป็นของธนาคารออมสิน สาขาราชดำเนิน (สมุดบัญชีเงินฝากเป็นสีน้ำเงิน) คือ เจ้าหน้าที่เค้ามารับฝากเงินที่โรงเรียนทุกวันพุธ (เรียนโรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก แถวผ่านฟ้า ...เรียนซะไกลบ้าน) เปิดบัญชีด้วยยอด 5 บาท หรือ 10 บาทเนี่ยแหละ (ยอดเงินมีความ Cute เนอะ) แล้วก็ฝากมาเรื่อยๆ เงินหลักร้อยตอนนั้นนี่ถือว่าเยอะมากนะ (ทำไมอยู่ดีๆ ก็รู้สึกแก่) 

เงินเก็บตอนนั้นก็มาจาก
  • เงินที่เหลือจากค่าขนม ค่าแต๊ะเอียหรือเงินที่ได้จากผู้ใหญ่ตอนปีใหม่ ต้องกราบขอบคุณญาติๆ ผู้มีพระคุณ มา ณ ที่นี้ค่ะ
  • มีไปแข่งพวกภาษาอังกฤษ มารยาทไทย อะไรทำนองเนี้ย ในกลุ่มโรงเรียนตราดอกบัวทั้งหลายในเขต กทม. ถ้าได้รางวัล ที่ 1-3 นอกจากได้เกียรติบัตรแล้ว คุ้นๆ ว่าได้เงินด้วยนะ (แต่จำจำนวนเงินไม่ได้)
  • หรือการค้าขายแบบเด็กๆ ตอน ป.5 หรือ ป.6 เนี่ยแหละ ทางโรงเรียนมีกิจกรรมให้เด็กเปิดร้านขายของ ก็ไปเปิดด้วย เอาของที่ซื้อเก็บมาเรื่อยๆ แบบ สมุด ยางลบ ดินสอ การ์ดปีใหม่ไปขาย (มุ้งมิ้งชะมัด) ได้กำไรมา 300 บาทมั้ง เหรียญในกระป๋องหนักมากกก นั่งนับเหรียญไป ดีใจไป (300 บาทตอนนี้ทำอะไรได้บ้าง ตอบ!!!)

ภาพจาก http://f.ptcdn.info/201/032/000/1433695325-49845-o.jpg
มาเริ่มตั้งเป้าหมายแรก "จบมัธยมจะมีเงินหมื่นให้ได้" (หมกมุ่นเรื่องเงินอยู่พอตัว 55+) ก็... 
  • รับจ้างนะฮะ รับจ้างอาจารย์ที่โรงเรียนพิมพ์เอกสาร หน้าละ 20 30 50 บาท แล้วแต่ความกรุณาของอาจารย์แต่ละท่าน
  • ไปแข่งคอมตามงานต่างๆ แบบ Word, PowerPoint, เขียนเว็บ ถ้าชนะส่วนมากก็ได้เงินนะ ไม่ว่าจะ 300 500 1,000 ได้หมดอะ แล้วตอนนั้น ผอ. ที่โรงเรียนโพธิสารพิทยากร (อยู่ฝั่งธนฮะ อย่าทำหน้าไม่รู้จัก) มีนโยบายว่า ถ้าไปแข่งแล้วชนะที่1 มา จะเพิ่มเงินรางวัลให้อีก 1 เท่า ... ก็ต้องชนะสิคะ! 55+
  • แล้วก็มีพวกงานค่ายต่างๆ ที่ได้เบี้ยเลี้ยงบ้าง

ซึ่งจบมัธยม ก็เกินหมื่นได้จริงๆ เริ่มได้ใจละ 

เป้าหมายที่สองต้องมาค่ะ "ขอแสนนึงก่อนจบมหาวิทยาลัย" นอกจากจะมีรายรับจากญาติๆ ค่าเบี้ยเลี้ยงการทำค่าย ตามที่ได้กล่าวไปด้านบน ก็มีรายรับเพิ่มเติมจาก
  • การเป็น TA วิชาต่างๆ ทั้งในภาควิชา คอร์สพิเศษ (สอนคนนอกของอาจารย์ท่านต่างๆ) เป็นแรงงานไอทีที่งาน IOI 2011
  • ไปรับ Job เป็นพนักงานขายหนังสือ บูธมติชน ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 2 รอบ (ค่าแรงวันละ 300 บาท มีข้าว ขนมเลี้ยง หักค่าเดินทาง ค่ากินนิดหน่อยก็เหลือ ~ 200 บาท)
  • ภาคต่อจากการเป็นเด็กกิจกรรมตอนมัธยมปลาย (โครงการแผนที่สุขภาพ เพิ่มพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยงรอบโรงเรียน) ทางโครงการฯ ก็มีรายการทีวี ได้มีโอกาสเป็นพิธีกร ออกช่อง ThaiPBS อยู่หลายคลิป (หาไฟล์ในออนไลน์ไม่เจอเลย เสียใจ) ค่าตัวครั้งละ 500 บาทมั้ง ก็มีความแฮปปี้มาก 555+
  • ไปฝึกงานโครงการลองดีกับดีแทค ตอนปิดเทอมใหญ่ปี 3 นอกจากจะได้ซิม Happy ฟรีแล้วก็มีเบี้ยเลี้ยงเล็กๆ น้อยๆ ให้ด้วยนะ #รักดีแทคเสมอ
  • ถ้าเรียนดีมาก(ซึ่งไม่ใช่เรา) หรือเป็นเด็กกิจกรรม(แบบเรา) ทำประโยชน์ให้สังคม นอกจากทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะให้โล่รางวัลมาดูเล่นแล้ว จะได้ลดหย่อนค่าเล่าเรียนด้วยนะจ๊ะ (อันนี้ถือเป็นผลดีกับพ่อแม่เราแทน)
  • ช่วงปี 3 จะขึ้นปี 4 (ตอนที่น้ำท่วมใหญ่ กทม. นั่นแหละ) ได้เข้าค่าย YWC (รุ่น 9) สาย Content ซึ่งช่วงนี้เองก็ได้รู้จักกับ พี่ล๋ง น่าจะผ่านทาง twitter ทำให้ได้มีโอกาสเป็น freelance กับเค้า! เขียน Content ให้กับ INCquity บทความละ 100 200 300 400 แล้วแต่เนื้อหา (*ไม่ได้เขียนมานานแล้ว ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วงการ Agency) แล้วด้วย "YWC" นี้เอง ก็ทำให้มี Event เข้ามาในชีวิตเยอะขึ้น ทั้ง Event ที่ทำให้เราเสียเงิน หรือได้เงิน ซึ่งมันต่อเนื่องจากรั้วมหาวิทยาลัยมาถึงชีวิตการทำงาน ** พื้นที่ขายของ ** สำหรับน้องๆ ที่กำลังเรียนมหาวิทยาลัย อย่าลืมมาสมัครเป็น YWC ด้วยกันนะคะ ค่ายนี้ไม่เหมือนที่อื่น มันไม่ใช่แค่ค่าย มันเป็นครอบครัว ถ้าเราไม่ทิ้งครอบครัวก่อน พวกเค้าก็จะอยู่กับเราไปจนตาย กิกิ
  • ตอนปี 4 เทอม 1 ได้ไปฝึกงานสหกิจศึกษา ที่ PTT ICT แล้ว ดร. ที่ดูแลพวกเรากับอาจารย์ที่ปรึกษา ก็ช่วยกันดันให้เรากับเพื่อนส่งโปรเจคเข้าประกวดโครงการ NSC ซึ่งก็ได้รางวัลที่ 2 มาอีก (สำหรับ Category นี้ ไม่มีรางวัลที่ 1 นะเออ) เงินมาค่ะเงินมา!
  • การเปิดร้าน (สโมสรคณะวิทยาศาสตร์) ขายอาหารที่เกษตรแฟร์ เหนื่อยมาก อดนอนหนักมาก ถึงกับทำโปรเจคของวิชานึงพัง แต่ก็ได้กำไรเยอะมากนะฮะ 55+
  • น่าจะมีรายรับทางอื่นอีกนิดหน่อย แต่จำไม่ได้แล้วล่ะ
  • ตอนนั้นมีแค่ฝากออมทรัพย์ กับฝากประจำ 12 หรือ 24 เดือนเนี่ยแหละ


ช่วงที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย 4 ปี เป็นช่วงเวลาที่สนุกมาก ถึงแม้เราจะมีเป้าหมายว่าต้องมีเงินเก็บให้ได้เกินแสน ก็ไม่ได้จริงจังมากนะ ใช้ชีวิตตามปกติ ดูหนัง ซื้อของ ทำค่าย เข้าค่าย ไปเที่ยว กินบุฟเฟต์ กินอาหารนู่นนี่ ของหวานที่แพงๆ ก็ไปลอง คือตอนนั้นค่อนข้างจริงจังกับเรื่องเรียน (เกรด) มากกว่าเรื่องเงินนิดนึง เนื่องจากรับปากกับพ่อไว้ตั้งแต่ปี 1 ว่า ถ้าจะทำกิจกรรมแบบบ้าพลัง ก็จะจบภายใน 4 ปี จะไม่โดนไทร์ 55+

ซึ่งผลลัพธ์ก็เกินแสนนึงนะ แต่เกินเท่าไหร่นี่ก็จำไม่ได้ละ...

พอก้าวเข้าสู่ชีวิตมนุษย์เงินเดือน ก็ต้องมีเป้าหมายที่สามตามเทรนด์เนอะ "จะมีเงินล้าน ภายในอายุ 30 ปี" จะทำได้ไม๊ ทำได้หรือเปล่า ~ ~ ~ นอกจาก "ออมทรัพย์" กับ "ฝากประจำ" ที่เคยรู้จัก ก็ได้รู้เรื่องการเงินเยอะขึ้น ทั้งจากเพื่อน CS23 (มีตัวตั้งตัวตีนามว่า "เอ็ม") พี่ป้อม Siwat เพื่อนค่ายรุ่น 9 หรือจากเว็บไซต์ต่างๆ และล่าสุดคือพี่บีนี่แหละ ที่มีตอนนี้ นอกจากออมทรัพย์ คือ ประกันชีวิต กองทุนหุ้น (ที่ดูก็ไม่ค่อยเป็น ตอนนี้ก็ติดดอยไปรัวๆ) แล้วก็พวก LTF เอาไว้ลดหย่อนภาษี (ซึ่งก็ดอยเหมือนกัน) #การลงทุนมีความเสี่ยงในการขาดทุนมากกกกกกกกกกกค่ะ! อยากเล่นหุ้นมาสองปีได้แล้วนะ แต่สุดท้ายก็ยังไม่กล้า รู้สึกว่าความรู้ไม่พอ แถมยังไม่ค่อยสนใจเรื่องเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงรอบตัวอีกต่างหาก 

ถามว่าเก็บเงินจริงจังไม๊ ก็จริงจังมากกว่าตอนเรียนมหาวิทยาลัยนะ แต่ก็ยังกินแบบ Happy ซื้อของตามปกติ แล้วก็มีทริปไปเที่ยวแบบจริงจัง (จนคิดว่าควรหาเงินจากการไปเที่ยวได้แล้วนะ) 

ถึงแม้จะต้องใช้ระยะเวลาหลายปีในการไปให้ถึงเงินล้านแรก มากกว่าพี่บีหลายเท่า ก็... มาร่วมลุ้นไปด้วยกันกับเราเนอะ ^^ 

สุดท้ายนี้ "ออมก่อน รวยกว่า" เป็นกำลังใจให้คนที่มีเป้าหมายทุกคนนะคะ :)

ความคิดเห็น

  1. อ่านของพริ้วแล้วก็รู้สึกว่า เฮ้ยยย เด็กๆเราก็มีสมุดบัญชีธนาคารออมสินเหมือนกันเลย ออกตั้งแต่ประถม ฝากทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละ 50 บาท โตขึ้นมาหน่อยก็อาทิตย์ละ 100 บาท แบ่งค่าขนมนั่นแหละ ยอมไม่กินขนม(มะม๊าบอกไม่มีประโยชน์เก็บเงินดีกว่า ให้มากินข้าวบ้าน)555 สุดท้ายมันเป็นเงินก้อนจริงๆนะ มีความภูมิใจอยู่น้อยๆ ว่าเราก็เก็บเงินได้เนอะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ส่วนเรานี่กินไม่ยั้ง หิวก็ต้องกินนะคะ บ้านไกลโรงเรียนไง รองท้อง 55+
      แต่มันเป็นความภูมิใจจริงๆ เนอะ ถึงแม้ตอนนี้มูลค่าของเงินก้อนนั้นมันจะดูน้อย แต่มันก็เป็นรากฐานการออมที่ดีมากๆ เลย

      ลบ
  2. (พี่ตั้มแชร์ -> lynn philip ร้อยละ 4% เริ่ม 1k-5M)

    แล้วพริ้วได้ไปเปิดบัญชีกับเค้ามารึยางงง

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เฮือกกกก ยังเลยค่า
      มันอยู่ไกลบ้านมากกกกก จนต้องคิดสิบตลบว่าถ้าไปฝากแล้ว เวลาจะทำธุรกรรมอะไรที มันจะยุ่งยากมากไม๊

      ลบ
    2. ก็ดีไง ฝากยาก ถอนก็ยาก เงินจะได้ทำงาน 555

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์ตรงกับการโดน Facebook บังคับเปลี่ยนชื่อ ทำอะไรไม่ได้นอกจาก "รอ"

น้องนีโม่ กับ โรคฉี่หอม

สองชั่วโมง สองที่เที่ยว ด้วย เรือหางยาว เจ้าพระยา