มาสร้างฝายชะลอน้ำ ~(ชะลอรัก) กันเถอะ!

ได้ยินกันมาหลายครั้งกับ "ฝายชะลอน้ำ" อยากไปทำสักครั้งหนึ่งในชีวิต แต่ก็ไม่มีโอกาสจะไปซักที
ถ้างานเพื่อสังคม สิ่งแวดล้อมที่เคยไปทำๆ มาก็มี
  • ปลูกป่าชายเลนที่จังหวัดระยอง อันนี้ไปมาสองครั้ง ครั้งหนึ่งกับทริปภาค CS ตอนเราอยู่ปี 3 กับอีกงาน Zygote Camp ตอนเราเป็นสโมวิทยา อันนี้ก็อยู่ปี 3 เหมือนกัน
  • ทำความสะอาด/ทาสีโรงเรียนตอนน้ำท่วม จำได้ว่าตอนนั้นเป็นงานรวมพลังน้ำใจไทย ที่มี Google Thailand เป็นแกนนำหลัก เป็นกิจกรรมดีๆ ส่งท้ายชีวิตมหาวิทยาลัยปี 4
มันก็เป็นอะไรที่เบสิคมาก แล้วก็น้อยมากด้วย = =)"

ถือเป็นฤกษ์งามยามดีที่ THNIC ได้จัด Outing สร้างฝายชะลอน้ำที่เมืองขนมหม้อแกงอร่อย ไม่ใกล้ไม่ไกล...เพชรบุรีนี่เอง งีบแป๊บๆ ก็ถึง ^^

โครงการนี้วางแผนล่วงหน้ากันหลายเดือน มีพี่ๆ ไปสำรวจพื้นที่กันล่วงหน้าด้วย แล้วเราก็ได้รับมอบหมายให้หาเพื่อนๆ ไปช่วยกันสร้างฝาย โดย target หลักคือ เด็กค่าย THNG นอกนั้นค่อยเอาไปเสริมๆ ได้

ผลตอบรับกลับมาดีอย่างไม่น่าเชื่อ ทันทีที่เรา post ลง facebook (ในหน้า wall ของตัวเอง) รวมถึงส่ง fb msg ตรงไปหาบางคน (ที่เราสนิท) คนก็ลงชื่ออยากไปกันเพียบ!!!

ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็มีคนแสดงความจำนงมาหาเราถึง 22 คน แต่น่าเสียดายที่รถตู้ที่ใช้เดินทางมีไม่เพียงพอ จึงต้องกล่าวขอโทษกับเพื่อนๆ และมีคนได้ไปเพียง 14 คนเท่านั้น... (ยังรู้สึกผิดไม่หาย) แต่ยังไงเราก็ต้องขอขอบคุณทุกคนมากๆ ที่ให้ความสนใจกิจกรรมที่ PR ออกไปนะ

มารู้จักกับฝายชะลอน้ำกันก่อน

ฝายชะลอน้ำ หรือ Check Dam คือสิ่งก่อสร้าง ที่ทำขึ้นเพื่อขวางหรือกั้นทางน้ำ โดยปกติมักจะกั้นลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากเป็นช่องที่น้ำไหลแรงก็สามารถช่วยในการชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงด้วย เพื่อการกักเก็บตะกอนเอาไว้ไม่ให้ไปทับถมลำน้ำตอนล่าง อันเป็นเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ

นอกจากนี้ยังนิยมสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ต้นน้ำที่แห้งและเสื่อมโทรม โดยมักจะสร้างในบริเวณร่องน้ำ เมื่อฝนตกฝายจะทำการชะลอน้ำไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป ทำให้ในบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ ดินเกิดการอุ้มน้ำ ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น พื้นที่มีความชุ่มชื้น อันจะส่งผลดีต่อบริเวณโดยรอบซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ฝายชะลอน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. ฝายชะลอน้ำแบบท้องถิ่น (หรือฝายแม้ว ที่ทำโดยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้ ไม้ล้ม หรือก้อนหินชนิดต่างๆ มาวางเรียงซ้อนกัน)
  2. ฝายชะลอน้ำแบบเรียงด้วยหิน (ฝายกึ่งถาวร)
  3. ฝายชะน้ำแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ฝายแบบถาวร)

ซึ่งการก่อสร้างฝายชะลอน้ำนั้นควรได้รับการศึกษาโดยละเอียด ให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และปัญหา เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ เช่น ทำให้น้ำนิ่ง ไม่เกิดการไหลเวียน ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย ระบบนิเวศเสื่อมโทรม หรือแม้กระทั่งการก่อสร้างฝาย อาจไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่โดยรอบได้


ที่มาข้อมูล http://www.bejame.com/article/1727

สำหรับการสร้างฝายในครั้งนี้ของเราเป็นแบบ ฝายแม้ว เค้าบอกว่าจะอยู่ได้ประมาณ 5 ปี ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพแวดล้อม กระแสน้ำ ปริมาณน้ำ ฯลฯ (อย่างฝายใกล้เคียงก็อยู่ได้แค่ 1 ปีก็ไปซะละ)

16 Dec 2012

เริ่มต้นทริปครั้งนี้ด้วยการขึ้นรถตู้กันที่ BTS หมอชิต (เราเป็นคนนัดเองแหละ) รถตู้คันนี้เต็มไปด้วยเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ของเราทั้งหมดเลย ประกอบด้วย พี่ดาว(นั่งข้างคนขับ) พี่บี พี่บิท จิม แบงค์ ต่อ(เพื่อนแบงค์) บาส พี่ฝน พี่กั้ง โอม พี่เกรท พี่โด้(เพื่อนพี่เกรท)
ปล. ด้วยที่นั่งจำกัด น้องซินและเพื่อนทั้งสองเลยต้องไปนั่งรถตู้อีกคันแทน ><"

นัดกันตอน 06.30 น. แต่ก็ไม่ได้ออกตรงเวลา - -" เพราะมีบางคนมาสาย... (ไม่เอ่ยนามดีกว่า :P) กว่าล้อจะหมุนก็ประมาณ 7.15 น. กินข้าวเช้ากันในรถ แวะปั๊มเพื่อทำธุระส่วนตัวและเปลี่ยนเป็นเสื้อทีมสีชมพู ><" แต่!!! ก็ไปถึงจุดนัดหมายก่อนรถคันอื่นนะ! ฮี่ๆ (มีรถตู้อีก 2 คัน, รถพี่ภาค และรถพี่ยอด)

พอเจอกันเรียบร้อยก็ขับตามกันเป็นขบวน แต่ทำไมคันเราต้องปิดท้ายด้วยอะ ;3

ขับตามทางหลวงอยู่สักพัก ก็เริ่มไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ พอเข้าทางลูกรังแดงๆ เท่านั้นแหละ นอกจากสัญญาณจะดับสนิทแล้ว ยังมองไม่เห็นทางข้างหน้าอีก เต็มไปด้วยฝุ่นจริงๆ - -"


ถ้าใครอยากจะเปลี่ยนสีผมตอนนี้แนะนำให้เปิดกระจกแล้วเอาหัวยื่นออกไป จะได้สีส้มสวยงามสมใจแน่นอน 55+

แถมป้ายบอกทางยังมีสับขาหลอกอีกต่างหาก ถ้าไม่มา survey ล่วงหน้า รับรองหลงชัวร์!!!



ไม่นานนัก เราก็มาถึงวัดลิ้นช้างจนได้

w/ พี่กั้ง พี่ฝน
แล้วก็ถูกต้อนเข้าไปรวมกันที่ศาลาของวัด เพื่อชี้แจ้งการทำฝายเบื้องต้น ว่าฝายที่เราจะทำเป็นฝายแม้ว และขอให้ทุกคนแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่มคือ
  1. กลุ่มขุดดิน
  2. กลุ่มหาหิน
  3. กลุ่มสร้างฝาย
ACT 1 Camera 1
ACT 1 Camera 2
โดยให้แบ่งผู้ชาย ผู้หญิงแต่ละกลุ่มให้เท่าๆ กัน ตอนแรกก็อยากจะสร้างฝายหรอกนะ แต่เห็นมันเต็มแล้ว ...ไปอยู่กลุ่มขุดดินก็ได้!!! (พี่เค้าบอกให้ผู้หญิงไปช่วยถือปากถุงกระสอบได้) เมื่อแบ่งกันลงตัวแล้วก็ได้เวลาออกลุย!

ต้องเปลี่ยนจากรถตู้เป็นรถอีแต๋นหรือรถกระบะเท่านั้น
ระหว่างทางลุยเข้าไปในป่า ทางขรุขระมาก ต้นไม้กิ่งไม้เกะกะเต็มสองข้างทาง มีหลายคนเสียเลือด เสียกรอบแว่นให้กับต้นไม้กันเป็นแถวๆ แต่พวกเราก็สู้ตาย!!!

รถอีแต๋นของเรามาถึงเป็นคันแรก ก็เริ่มงานกันก่อนเลย ขนของจากปากทางเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นถุงกระสอบ ไม้ จอบ บุ้งกี๋ ฯลฯ จากที่แบ่งกลุ่มอยู่ดีๆ คนที่อยู่ฝ่ายหาหินก็โดนลากมาขุดดินกันซะก่อน 55+

หาทำเลเหมาะๆ ได้แล้วก็ลงมือขุดกันเลย
ตอนแรกก็เป็นแค่คนถือถุงกระสอบธรรมดา

แต่ก็ได้แผลตรงนิ้วมาหลายแผล (กระสอบมันครูดมากไปหน่อย)
เบื่อๆ กับการถือถุง ก็เปลี่ยนเป็นคนยกดินในบุ้งกี๋เทลงกระสอบบ้าง ยกหลายๆ รอบก็เอาเรื่องไม่ใช่เล่น - -"

เค้าบอกให้ใส่ดินแค่ครึ่งกระสอบ แต่แถวนี้ทำงานกันบ้าพลังมาก (โดยเฉพาะพี่วัฒน์) เกือบเต็มทั้งนั้น หน้าที่ลากถุงเลยต้องตกเป็นของพี่บี เนื่องจากข้าพเจ้าลากไม่ไหว = =)"

และงานที่ทำให้กลับมาปวดหลัง มือแตกสุด เห็นจะเป็นงานขุดดินเนี่ยแหละ

จอบเหล็กหนักโฮก เปลี่ยนไปจับจอบไม้จะรู้สึกดีขึ้นนิดหน่อย ^^
ทำไปได้สองกระสอบ (6 บุ้งกี๋) ก็หมดแรง แขนสั่น = =
จงอย่าฝืนสังขาร...กลับไปยกบุ้งกี๋กับถือกระสอบน่ะดีแล้ว!!!

ด้วยความบ้าพลังของทุกคนที่อยู่ตรงจุดนี้อย่างโอม จิม บาส พี่ฝน พี่กั้ง พี่บี และที่แวะเวียนมาอย่างพี่วัฒน์ พี่ใหม่ พี่อ้ำ พี่มิ้น ทำให้งานตรงนี้เสร็จไปได้สวยๆ

65 กระสอบ

มือดำปี๋ ทั้งพองทั้งแตกแล้วเรียบร้อย

ขอเวลาไปพักบ้างแล้วกันนะ เพราะแค่กินน้ำมือยังสั่นเลยอะ 55+
ปล. ถ้าถามว่าทำไมไม่ใส่ถุงมือ คือเพิ่งมาตอนทำงานเสร็จแล้วอะ - -" (พี่เค้าลืมไว้ในรถที่จอดตรงวัด)

ตอนขาไป ปีนข้ามได้สบายๆ ขากลับค่อยๆ กระดึ๊บๆ ไหลลงมา เพราะหมดแรงแล้ว = =

พักเบรคระหว่างทางก่อนไหลลงมาพื้นน้ำด้านล่าง
With my gangz แต่ขาดไปหลายคนอยู่นะเนี่ย -3-



พอหมดงานตรงขุดดินด้านบน ก็ไม่อยากจะลงมาขุดดินต่อด้านล่าง ...ก็เหนื่อยเป็นนี่หน่า ;-3 ก็เลยหาเรื่องลุยไปทางต้นน้ำ มุดลอดต้นไม้ไป ลุยน้ำไป ตอนแรกนึกว่าจะไม่มีใครมาด้วยแล้ว แต่ก็มีคนตามมาอยู่ 4 คน ได้แก่ จิม พี่บี พี่ฝนแล้วก็โอม

ยังไปไม่ถึงต้นน้ำหรอก แต่ไปต่อไม่ได้แล้วเพราะเจอต้นไม้โน้มลงมาบังทางเดินไป ปล่อยให้น้ำไหลได้อย่างเดียว แต่มาทั้งทีจะไม่ให้เสียเที่ยวเด็ดขาดๆ ไหนๆ ก็เจอฝายเก่าที่ดูพังๆ หินกระจายไปหลายทิศทางแล้วก็ซ่อมมันซะหน่อย โดยใช้หลักการกระสอบทรายตอนน้ำท่วมคือเอาถุงทรายมาวาง เอาก้อนหินทับ เอาก้อนเล็กลงก่อนแล้วเอาก้อนใหญ่ทับอีกที ... คิดเอาเองว่ามันจะได้ผล 555


พอลุยกลับมาถึงที่คนอื่นอยู่ก็พบว่าเค้ากินข้าวกลางวันกันหมดแล้ว 555+ เลยต้องกินกันแบบแว๊นๆ แล้วลงมือทำงานกันต่อ

เนื่องจากตัวฝายสร้างเสร็จแล้ว (ใช้ไม้ไผ่ ลวด ฯลฯ) ตอกๆ ลงไปให้เหมือนเป็นกำแพงขึ้นมาบล็อกหน้าหลัง ก็ได้เวลาเอาถุงดินลงตรงกลาง มีมือตะปูคอยเจาะกระสอบให้อากาศมันออกมา แล้วก็มีพี่ๆ กระโดดกระทืบถุงดินกันอย่างสนุกสนาน จากนั้นจึงตามด้วยหินเล็กหินใหญ่ทับลงไปอีกที



พอสร้างฝายเสร็จเรียบร้อย กางเกงก็เปียกเรียบร้อยเหมือนกัน เพราะระดับน้ำมันสูงขึ้น
ไม่นานนักฝายก็เสร็จสมบูรณ์ (จำได้ว่าเป็นเวลาประมาณบ่ายโมงตรง)

ฝายของพวกเรา
จากระยะเวลาที่วางไว้ถึง 16.00 น. แต่เรากลับทำเสร็จก่อนเวลาถึง 3 ชั่วโมง (ใช้เวลาสร้างประมาณ 4 ชั่วโมง) เป็นเพราะพลังกาย พลังใจและพลังความสามัคคีของทุกคนจริงๆ ^^


ปล. คนดูแลที่นี่บอกว่ายังต้องสร้างอีก 100 ฝาย o [] O!!



กว่า 42 ชีวิต สุดยอดไปเบยยยยยยยย!!! ^0^

กลับมาเปลี่ยนเสื้อผ้ากันที่วัดลิ้นช้าง ก่อนออกเดินทางไปเที่ยวที่บ่อน้ำพุร้อน แช่น้ำร้อน(เท้า)กันให้หายเมื่อยซะหน่อย ตรงที่เป็นบ่อเกิดของน้ำพุร้อนจะเป็นสีเหลืองๆ เข้าใจว่าเป็นแร่กำมะถันแหละ

เคล็ดลับคือ ต้นทางที่มีน้ำไหลออกมาจากบ่อ ระดับน้ำสูงแค่ฝ่าเท้าน้ำจะร้อนเวอร์ ต้องตั้งสมาธิอย่างมากในการเดินวนแถวนั้น พอตรงกลางประมาณข้อเท้าจะร้อนแบบกัดฟันทนได้ชิวๆ แต่ปลายทางที่ระดับน้ำถึงหัวเข่าจะร้อนกำลังดี เดินเล่นได้สบายใจเฉิบ :P
ชิวๆ อยู่แล้ว
10 บาท กับ 15 นาที ต้องเอาให้คุ้ม!!! เดินเล่นให้หมดตั้งแต่ระดับน้ำแค่ฝ่าเท้ายันหัวเข่า V(^^)V พอขึ้นจากน้ำผิวจะแดงมากๆ เค้าว่ากันว่าทำให้เลือดลมไหลดี (หรือว่ามันพองก็ไม่รู้นะ 55+)
คือทำท่าอะไรอะ - -"
สำหรับความร้อนของน้ำ ที่นี่จะร้อนปานกลางถ้าเทียบกับสันกำแพง (เชียงใหม่) แล้วก็หินดาด (กาญจนบุรี) ส่วนที่สวนผึ้ง(ราชบุรี) เรียกว่าน้ำอุ่นชัดๆ

ที่นี่มีห้องแช่ด้วยนะ น้ำจะถูกส่งผ่านท่อลงไปด้านล่าง ยังงี้ด้านล่างก็ไม่ค่อยร้อนอะดิ?
เดินกลับไปยังลานจอดรถแล้วจ้า (เหมือนแกงค์อะไรซักอย่าง) 55+
สุดท้าย...แวะกินอาหารเย็นกันที่เขาย้อยชวนชิม แล้วเดินทางกลับถึง กทม. โดยสวัสดิภาพ ด้วยสภาพหมดแรง ปวดหลัง มือแตก นิ้วถลอก เสี้ยนตำ หนามข่วนขาเป็นแผลยาว (พริ้วเอง - -")

งานนี้ต้องขอบคุณ THNIC และบ้านดินไทยที่มีกิจกรรมดีๆ ทำให้พริ้วได้ออกไปซ่าอีกครั้งค่ะ ^^)b

อัลบั้มรูปภาพอื่นๆ
55.12.16 (สร้างฝาย)อาสาจาก ที.เอช.นิค กว่า 42 คนร่วมสร้างฝาย
สร้างฝายชะลอน้ำ จ.เพชรบุรี 16 Dec 2012
THNIC Outing 2012

[เขียนไป 3 hrs. เบาๆ]

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์ตรงกับการโดน Facebook บังคับเปลี่ยนชื่อ ทำอะไรไม่ได้นอกจาก "รอ"

น้องนีโม่ กับ โรคฉี่หอม

สองชั่วโมง สองที่เที่ยว ด้วย เรือหางยาว เจ้าพระยา