เมื่อได้เป็น 1 ใน 250 ที่นั่ง จาก 2,237 Access กับงาน Creative Talk 5 : A Year in (P)review

ตั้งชื่อ Blog ได้ Clickbait มาก 55+ เรื่องของเรื่องก็คือเมื่อวาน (16 Jan 2016) ได้มีโอกาสไปเข้าร่วมงาน Creative Talk 5 : A Year in (P)review มา งานนี้เป็นงานที่แย่งชิงบัตรที่นั่งกันยิ่งกว่าคอนเสิร์ตใดๆ เปิดให้กดจองบัตร (ฟรี) ตอน 7.00 น. เช้าของวันธรรมดา ซึ่งเราก็บ้าจี้ ตื่นมาแย่งชิงสู้ตายกับผู้คนจำนวน 2,237 Access! แต่ก็ยังไม่ได้เป็น 1st Ticket แฮะ (คนแรกได้รางวัลเป็นสมุดบันทึกของ Moleskine ด้วยอะ อยากได้อะอยากได้ งอแง~) ขนาดบนบัตรที่เราจิ้มได้มา ระบุแล้วนะว่าเราซื้อตอน 7.00AM แหม่ ~ 

วิธีการของคนที่ซื้อบัตรเป็นคนแรกก็ไม่ต่างจากเราเท่าไหร่ คือ ตื่นมาตอนประมาณ 06.45-06.50 เข้าระบบมา Login ให้เรียบร้อย แล้วพอ 06.59 เราก็ refresh รอ มันก็ยังไม่มาแฮะ พอ 07.00 มันเปิดปุ๊บ เราก็จิ้มมา โผล๊ะ ได้มาสองใบ แฮปปรี้ย์ แล้วก็ไปอาบน้ำสบายใจเฉิบ พออาบน้ำเสร็จก็มาไถ feed ดูอีกที น้องๆ ลงไม่ทันกันเป็นแถว เพิ่งมารู้ทีหลังจากคุณเก่งว่า บัตร 250 ที่นั่งถูกจองเต็มภายใน 1 นาทีจ้า โอ๊ยตาย หมดเร็วจริงอะไรจริง 

ด้วยความที่คนต้องการไปสูงมาก แต่ที่นั่งไม่เพียงพอ ทางทีมงานจึงได้มีการส่งอีเมล ให้เราตอบชื่อ เบอร์โทร อีเมลผู้เข้าร่วมงานที่จะไป อย่างเราจองสองคน ก็ต้องส่งชื่อไปสองคน เลยหลังไมค์ไปถามน้องปอย ที่อยากไปแต่กดจองไม่ทันเหมือนกัน น้องตอบตกลงอย่างไม่ลังเลเลย ดีมากค่ะ !

ตัดภาพมาที่ก่อนวันงาน 1 วัน ได้เห็นจากโพสท์ของคุณเก่งว่า ถ้าไปลงทะเบียน 100 คนแรก จะได้รับ voucher ดูหนังฟรี 1 เดือนจาก PrimeTime มีหรือที่เราจะพลาด! 55+


เมื่อวันงานมาถึง เรากับน้องปอยก็ไปลงทะเบียนมันตอนเที่ยงซะเลย (ตอนเปิดให้ลงทะเบียน) แล้วก็ข้ามฝั่งไปหาข้าวกลางวันกินที่ MBK แล้วค่อยกลับมาร่วมงานตอน 13.00 น.

เปิดงานด้วยการกล่าวที่มาที่ไปของงาน การจัดงานในครั้งก่อนๆ แล้วก็มี Surprise! แจกบัตรดูหนังที่ SF ให้กับผู้ร่วมงานจำนวน 200 ใบ โดยแอบไว้ตรงช่องว่างของที่นั่ง ซึ่ง ซึ่ง ซึ่ง อด... #เสียใจ #ร้องไห้หนักมาก

แถวที่นั่งข้างหน้าเราได้ทั้งแถบเลย T_T


พักความงอแงไว้ แล้วไปฟังเนื้อหาความรู้กันเถอะ งานนี้แบ่งเป็น 4 Session ด้วยกัน คือ


Creative/Design
Technology
Digital Marketing
Startup




ชอบทีม "น้องยก" มาก จัดเวที พร้อม Sound ประกอบภายในเวลาไม่กี่นาที


เริ่มที่ Session แรกกันเลยดีกว่า Speaker 3 ท่านมีดังนี้
  • คุณกรัณย์ Founder of Pheromone
  • คุณสรรพวิชญ์ Chief UI & UX Designer
  • คุณสุวิตา Chief User Experience and Founder at Redlab

  • ตลอดปีที่ผ่านมา Interaction design ส่วนใหญ่ มี pattern แล้ว ไม่ต้องไปออกแบบใหม่ หน้าจอเป็นแบบนี้ ควรทำยังไง มันมี best practice มาแล้ว ตอนนี้มันเริ่มจะไหลออกจากในจอไปอยู่นอกจอ / ย้ายจากจอไปอีกจอ เช่น ย้ายจากมือถือไป Apple Watch
  • Designer จำเป็นต้องทำ prototype ให้เป็น เช่น การทำเว็บ เรา Coding ไม่เป็น ไม่เป็นไร มันมีโปรแกรมมาช่วยเรา ให้เราเอาไป Test ก่อน อย่างครั้งที่แล้วมีการพูดถึงโปรแกรม Sketch ตอนนี้มันกลายเป็นโปรแกรมที่ถูกระบุไว้ใน Requirement ของคนที่จะสมัครงานแล้ว ว่าต้องใช้เป็น นอกเหนือจาก Photoshop อย่างล่าสุดทาง Adobe ก็ออก product ใหม่ออกมาชื่อ Project Comet http://landing.adobe.com/en/na/products/creative-cloud/comet/229818-notifyme.html เราควรหัดใช้ได้แล้ว ถ้าคนเคยใช้ Sketch มาแล้ว มันไม่ยาก คล้ายๆ กันแหละ
  • มันเป็นปีที่พวกเรารู้(มานาน)แล้วว่า Social, Mobile มาแล้ว แต่จะเป็นปีที่ Designer ต้องนึกให้ออกว่า "แล้วไงต่อ" หรือ Impact ของการมีหลายหน้าจอเป็นยังไง
  • เวลาเราออกแบบอะไร เราต้องนึกถึงสิ่งที่จะตามมาเสมอ การรีวิวของบุคคลที่ 3 (Influencer) ตอนนี้มีผลมากเพราะ consumer ไม่ฟังแบรนด์ เค้าฟังคนที่เค้าเชื่อถือ
  • ที่กล่าวกันว่า "เป็นปีของผู้หญิง" มันน่าจะมาจาก ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้นในหลายๆ วงการ ไม่ว่าจะเป็น Tech, Social, ... เราจะ Design จากบริบทของผู้หญิง แต่ไม่ได้ Design มาเพื่อผู้หญิงนะ เดี๋ยวผู้ชายจะน้อยใจ อย่างที่เรารู้กันว่า Women are from Venus เราชอบรีวิว ชอบ Compare (แต่ผู้ชายบางคน Compare เก่งกว่าเราอีก) ชอบ Share แต่เราไม่ได้ขี้เมาท์นะ อิ_อิ แล้วก็มีการเพิ่มเติมว่า "ปีไหนๆ ก็เป็นของผู้หญิง" ไม่งั้นเพจ พ่อบ้านใจกล้า จะมีคน Like เยอะขนาดนี้เรอะ 555
  • สำหรับเทรนด์ "Modern Luxury" ที่อาจจะพอได้ยินกันมาบ้าง คือ มันต้องดี ต้องเริ่ด สรรหาแต่ของดีมาใช้ แต่ไม่จำเป็นต้องแพงที่สุด ทุกคนอยากได้ความ Excellent 
  • เว็บใหญ่ๆ จาก Stat ระบุว่ามีการ Access via mobile 80% - 100% เพราะงั้นเวลา Design ต้อง Mobile First ซึ่งอันนี้เราก็รู้กันมานานมากแล้ว ด้วยความที่หน้าจอมันเล็ก เราต้องคิดคนละแบบกับ Screen ใหญ่
  • สมัยก่อนคนเรา Move เข้าหา Mobile แต่ trend ท้ายปีที่ผ่านมา กลายเป็นเราขยับออกจากมือถือ เริ่มเอียนกับ noti. ทุกอย่างใน online พยายามออกไปใช้ชีวิต คนเราเริ่มสนใจในสิ่งที่มันจะบอกเราล่วงหน้ามากกว่า เช่น "ฝนจะตกภายใน 10 นาที ก่อนออกจากบ้าน พกร่มไปด้วยนะ" บอกเราโดยที่เราไม่ต้องเปิด App ให้ App ทำงานเองใน Backgroud โดยที่ไม่ต้องมี noti. เด้งมาใส่เรารัวๆ
  • การ Design ต้อง Reflect กับ Behaviour ของคน เช่น คนเราใจร้อนมากขึ้นเวลาอยู่กับมือถือ (เพราะเราใช้มือถือในช่วงเวลาที่กำลังเดินทาง) ทั้งๆ ที่ Desktop เรารอได้ โหลดไม่ขึ้นตอนนี้เดี๋ยวนี้ก็รอได้ 
  • มีศัพท์ใหม่มาบอก (เพิ่งเคยได้ยินวันนี้เนี่ยแหละ) คือคำว่า Notifitention แปลว่า เรามีสติ ให้ความสนใจอยู่แค่ระดับ Noti. หนึ่งอันเท่านั้น พวก Programmatic Banner ทำมาก็เพื่อ Serve พฤติกรรมของคนสมัยนี้ ที่ดูไม่นาน แต่ดูบ่อยขึ้น 
  • เวลาเราทำอะไรผ่านคอมพิวเตอร์ เราใช้การ skimming ไม่ได้ scan ไม่ได้ focus ทำให้การอ่าน e-book ผ่านคอมฯ ไม่ success เท่ากับการอ่านหนังสือเป็นเล่ม
  • คนเล่น iPad ตอนที่ Steve Jobs เปิดตัว เค้าลากโซฟามานั่ง Demo คือ ต้องอยู่ใน position ที่ relax มันไม่ได้ถูก design มาเพื่อให้ใช้งานได้ด้วยมือเดียว ดังนั้น คนใช้ iPad ก็จะมีสมาธิยาวกว่าคนใช้มือถือนิดดดนึง (นิดเดียวจริงๆ) จะเห็นว่าเทรนด์ตอนนี้ มือถือพยายามใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ แต่สุดท้ายมันจะกลับมาที่ size เดิมที่คนใช้ได้ ยกตัวอย่าง function 'tab tab' ของไอโฟน 6 แล้วหน้าจอเด้งลงมานี่ มันด้นสดมากนะ เพราะมือถือจอใหญ่ขึ้น แล้ว back ที่อยู่ซ้ายบน นิ้วโป้งไปไม่ถึงไง จะย้ายลงมาซ้ายล่างเหมือน android ก็ไม่ได้อีก กลืนน้ำลายตัวเอง (ฮาาาาา) เพราะฉะนั้น เวลาจะ design อะไร ให้นิ้วโป้งเอื้อมถึงให้มากที่สุด ส่วน function ใหม่ อย่าง 3D touch / Force touch เป็น gesture ใหม่ที่น่าสนใจมาก ควรไปศึกษา
  • แล้วเรื่องเทรนด์ Unisex ที่ของชิ้นเดียวกันใช้ได้ทั้งสองเพศล่ะ? ปัจจุบันฝั่ง US ใน Form กรอกข้อมูลจะไม่ต้องมีให้ระบุเพศ แต่ระบบต้องรู้ได้เอง (ด้วย Analytics อะไรก็แล้วแต่) และ user มองว่ามันเป็นสิทธิ์ของคนที่ไม่อยากจะบอกแล้ว แล้วถ้าเราไม่มีเงินจะติด Tools อื่นๆ เพิ่มเติม แต่อยากรู้ว่าเค้าเป็นเพศอะไรล่ะ? การถาม "คำนำหน้า" ยังเป็นทางออกได้ในระดับหนึ่ง
  • แทนที่จะคิดเรื่องเพศ เรามาคิดเรื่อง Accessibility กันดีกว่า การทำของเพื่อคนที่บกพร่องทางร่างกายอะไรบางอย่าง อย่างแอพให้คนตาบอด ก็จะมีเสียงเพิ่ม หรือมีอะไรบางอย่างที่ให้เค้าใช้ได้ ซึ่งคนพวกนี้อยากใช้แอพเหมือนกับคนปกติ ด้วย ego ของเค้า เค้าไม่อยากถูก treat ว่าเป็นคนพิการ ถ้าเราทำ app ที่กลุ่มผู้บริโภคกว้างมากๆ เราต้อง concern กับทุกคน แค่ตาบอดสีก็ต้องคิดเพิ่มแล้ว
  • รูปภาพใน Stock Photo ส่วนมากเป็นรูปไม่มีชีวิต พอมันไม่ Real ก็จะทำให้ User get story ได้ยาก มันไม่ empathy มันเข้าไม่ถึง ไม่อิน ลองสังเกตดูจะพบว่าหลายแบรนด์ ไม่ได้เอาดาราไฮโซมาใช้ เป็น Presenter เอาคนธรรมดาที่หาได้ตามท้องถนนมาแทน ภาพ Candid ให้ความรู้สึกได้มากกว่า มีผลกับการนำเสนอสินค้า มันไปได้ไกลกว่า Stock Photo
  • Cinemagraph การเอา video มาทำเป็น graph, concept คล้ายๆ กับ info graphic กำลังเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
  • Instagram ทำให้เราได้รู้ว่า การนำภาพที่มัน real มาใช้ ทำให้คนเข้าใจความหมายของสิ่งที่เราต้องการสื่อมากขึ้น 
  • Video ควรสั้นๆ ~ 15-30 sec, get across ให้เร็วที่สุด ตอบสนองความต้องการมนุษย์ + ปัจจุบันมันครอบด้วย advertising format, H.265 ทำให้ขนาดไฟล์วีดีโอมีขนาดเล็กลง, Video แนวตั้ง ไม่ได้ emotion เท่าแนวกว้าง แต่ถ้าจะทำวีดีโอแนวตั้งให้มันเป็นเทรนด์ ก็แนวตั้งไปเลย เช่น มาถ่ายรูปตึกๆๆๆ กัน แต่ถ้าอยากให้ universal support ก็ต้องทำทั้งสองแนว
  • COD / Bank Transfer ยังนำอยู่ แต่ Credit Card มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราขายของได้ แต่จะขายของยังไงให้เนียน? 
  • บทบาทของ Designer จะถูกปรับไปตามบริบท จะไม่ใช่แค่ UX Designer, UI Designer อย่าง US บริษัทใหญ่ๆ จะมี Organizer Designer เลยด้วยซ้ำ
  • ถ้าเบื่อกับการทำงาน Design ก็จะมีสาย UX ซึ่ง UX ก็จะมีมาจากสาย research ด้วย
  • UX มันค่อนข้างเน้นไปทาง Science ให้อ่านเยอะๆ ตามเทรนด์ ช่วยกันคิด ช่วยกันเขียน case study ออกมา ทำแล้วแชร์กัน ไปดูใน github ได้
  • Be focus (ตาดำ), Be Observant (ตาขาว) เจาะลึก และรู้ให้กว้าง


ต่อด้วย Session ที่สอง Speaker มี 3 ท่าน
  • คุณจอมทรัพย์ จาก EXZY
  • คุณพัชระพล จาก KOAN
  • คุณกำพล จาก PI R SQUARE

https://www.facebook.com/vrthailand/posts/1178878075461650
  • ในงาน CES 2016 (Consumer Electronic Show) เทคโนโลยี VR (Virtual Reality) มาเยอะมาก แต่จะเป็นพวกเกมส์, การออกกำลังกาย ซึ่งทาง EXZY เองก็ได้มีการทำ VR ให้กับ AIS Shop น่าจะมี ~ 16 สาขาที่มีให้เล่น เห็นแล้วอยากไปเล่นเลยอ่า
  • ตอนนี้ Hardware มันมีออกมาเยอะมาก มันจะต่างกันที่ตัว Content (ฆ่ากันตรงนี้แหละ) Barrier สำคัญของ VR คือ Pricing (มันแพง) อย่างในงานที่เห็นใช้กันเยอะๆ ก็จะเป็นของ oculus ซึ่งตอนนี้เป็นของ facebook ประชาชนอย่างเราๆ ก็เล่น Google Cardboard ไปก่อน เป็น VR ที่ราคาไม่แพง แต่ด้วย เทคโนโลยีที่กำลังมา ไม่เกิน 3 ปี cost ของ VR น่าจะถูกลงเรื่อยๆ เราต้องเอาเทคโนโลยีมาเชื่อมกัน สร้าง Content ออกมา เช่น กล้อง 360 องศา เอามาสร้าง content เสร็จแล้วต่อด้วย VR ให้ผู้ชมทางบ้านได้รับรู้บรรยากาศเหมือนของจริง
นี่ชอบอันนี้มากนะ airVR หมดปัญหาเรื่องการนอนเล่น ถือแล้วตกโพล๊ะใส่หน้า 555+


Summary Slide ของ VR จากทาง EXZY จำนวน 1 แผ่น


  • Drone จะมีงานฝั่งเทคโนโลยีเยอะพอตัว มี Drone Designer ออกแบบทุกสิ่งอย่าง มีบทบาทมากในแง่อุตสาหกรรม (Cost สำหรับ User ยังแพงอยู่) ตอนนี้ก็มีพวก hexo plus drone, intel drone ตัวอย่างที่ Speaker บอกว่า มี Drone ตามเก็บภาพส่วนตัว ตามตัวเราไป โดยที่เราไม่ต้องบังคับมัน ตอนที่เราออกไปขี่จักรยานหรือเที่ยวนี่มันดีมากกกกกก (อยากได้ อยากได้)

(ส่วนตัว) คลิปอันนี้ ดูแล้วชอบ อลังการงานสร้างมาก

  • OLED เป็นจอที่สามารถโค้งงอได้ เอาไปพัฒนาต่อยอดอะไรได้อีกเยอะ
  • Wearable device ที่จะไปต่อได้คือ พวก fitness ถ้าแบบใช้ปกติแค่ 6 เดือน เราก็จะไม่ใช้มันแล้ว โยนทิ้งไป เพราะพฤติกรรมคนใส่นาฬิกา อยากเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นถ้า เราอยากมีหลายเรือน แล้วข้อมูล Tracking มัน sync กันได้ทุกเรือน ก็จะเป็นอะไรที่ Cool มาก
Under armour + Htc เมื่อ major player ลงมาในตลาด จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรเยอะ 


http://o.aolcdn.com/hss/storage/midas/6656691b5a9723e9e722f9cd4667a51b/203211267/Edit_01DSC_7352.jpg 

  • AR (Augmented Reality) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที แต่การ Develop, Operation มันยังยาก มันต้องเป็น AR + infrastructure + Software ที่ real time ยกตัวอย่างเช่น ส่งลูกน้องไป config server ที่ Site ลูกน้องเกิดอาการมึนว่าต้องสายเส้นไหน ก็สามารถถ่ายส่งมาขอคำปรึกษาจากหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญได้ real time หัวหน้าสามารถสอนให้ลูกน้องจัดการหน้างานได้ มีลูกศรชี้ที่เส้นสายไฟให้เห็นได้ โดยที่หัวหน้าอยู่ระยะไกล เป็น 2way communication ที่มีประโยชน์มาก
  • ตอนนี้มันขึ้นกับว่า industry ปรับตัวกับพวก device ยังไงมากกว่า industry ต้องมีความกล้าเสี่ยง เสี่ยงที่จะทำอะไรใหม่ๆ กับพวก agency
  • อย่าง Health care ก็จะมีเรื่องการผ่าตัดแบบเทเล (ทางไกล, หุ่นยนต์)
  • หรือ IoT (internet of things) ที่ตอนนี้มีทั้ง smart car, air, wash machine, weather forecast, ... ทุกอย่าง sync กับเรา ทุกอย่างเป็น network (ต่อไปนี้ ข้าวของเครื่องใช้เราจะคุยกันเอง หรือถ้าเราเบื่อ เราก็คุยกับข้าวของเราก็ได้ด้วยนะ) ปัญหาของ IoT คือ มันต้องมี platform กลาง ที่คุยกันได้กับหลายๆ device ตอนนี้ทุกคนอยากมี platform ทุกคนสร้างของตัวเอง Google ก็กำลังสร้าง พอทุกคนสร้างของตัวเองขึ้นมารัวๆ สมมติว่าเราใช้ 20 แบรนด์ แต่ละแบรนด์มี platform ของตัวเอง เท่ากับเราก็ต้องลง 20 app งี้ บายยยยย
พักเบรคครึ่งทาง อาหารว่างดีงามพระรามแปด อาหย่อยยยยย #ซาบซึ้ง


หลังจากอิ่มแล้ว ก็กลับมาที่ Session 3 ที่มีความแนวคือ "ไม่ยอมนั่ง" จะยืนพูดตลอด 1 ชม. #ใครนั่งก่อนแพ้
  • คุณชรัตน์ เพ็ชรธงไชย Editor in chief บรรณาธิการ ThumbsUp
  • คุณกสม วิชชุลดา Marketing Communication Savoey Restaurant, Hotel's Digital Consultant
  • คุณสรรเสริญ สมัยสุต หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ บริษัท แอสเซนด์กรุ๊ป จำกัด และผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอ้ก ดิจิทัล จำกัด
  • คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล Strategic Planner at BrandBaker
  • ปีที่แล้วเป็นปีแห่งวีดีโอ อันที่จริงมันก็เป็นมาหลายปีแล้วแหละ 
  • พวกเราอยู่ใน FB platform (ที่ชอบเปลี่ยน Algorithms) เราก็เป็นไปตามสิ่งที่ platform เป็น
  • Digital เป็นที่สำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่แบรนด์ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต
  • โครงสร้างพื้นฐานของประเทศมันอำนวยมากขึ้น การมาของ 3G 4G ทำให้อินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกพื้นที่ โดยไม่ต้องใช้สายลากไปที่หน้าบ้าน อนาคตการแข่งกันไปมาในเรื่องมิติ Speed internet จะลดลง แล้วไปแข่งกันที่เรื่อง Content
  • เราจะเห็นผู้เล่นระดับโลก เข้ามาในวงการนี้อีกมาก ไม่ใช่แค่ Local 
  • เมื่อก่อนเราอยากให้คนอยู่บนเว็บเรานานๆ แต่เดี๋ยวนี้มันไม่ใช่แล้ว อย่าง FB ก็มาทำตัวเองเป็น channel ตรงกลาง ให้คน link out ออกไปที่อื่น แถมพัฒนา feature เพิ่มเรื่อยๆ
  • พอ content มันเยอะมาก มันก็มีทั้งของดี ของไม่ดี user จะเริ่มเข้าใจการอ่าน content มากขึ้น 
  • มีการทำ micro targeting มากขึ้น กลุ่มลูกค้าเราเล็กลง แต่เราต้องเข้าถึงเค้าให้ได้ทุกรูปแบบ
  • Google Street Inside เป็นสิ่งที่ทำให้ user เห็นความจริง เราหลอก user ไม่ได้อีกต่อไป จ้างคนมาถ่ายภาพสวยๆ ขึ้นเว็บ ขึ้น FB จะไม่มีประโยชน์ เราจะถ่ายทอดความจริงที่เรามียังไงให้น่าสนใจ ใช้ tools อะไร?
  • Social media เป็นช่องทางหนึ่ง ทำยังไงให้คนสนใจ Content ของเรา?
  • VDO เป็น Tool ที่ช่วยให้เห็นความจริงมากขึ้น Content ที่เป็น vdo ตอนนี้จะมี 360, live (โต๋ ศักดิ์สิทธิ์) 
  • User ไม่ได้อยาก real time content แต่อยาก in the moment กับ brand ณ ตอนนั้นเลย
  • อย่าง info graphic ที่ยาวๆ เมื่อก่อน เปลี่ยนมาเป็น ภาพเดียว หรือ เปลี่ยนเป็น 1 รูป สวัสดี เราชื่อ แล้วก็สไลด์ไป 300 อัน #เปลืองสามจี ซึ่ง Series ภาพแบบนี้ ตปท.​ เค้าไม่มีนะ Thailand Only 5555
  • Digital MKT ถ้าจุดระเบิดติดปุ๊บ บูมมม แล้วมันก็หายไปในพริบตา Trend content บน social มันมาเร็วไปเร็ว ช่วงนึงเป็น gif ช่วงนึงเป็น series ภาพ มี research กล่าวว่า คนเราให้เวลา content นึงแค่ 3 วินาทีเท่านั้น
  • การสร้าง content บน online ไม่ใช่แค่ที่ของคนมีเงิน แต่เป็นที่ของคนที่ทำอะไรเร็ว คิดเร็ว
  • ถ้าเราจะวัดผลอะไร เราต้องรู้ objective ต้องรู้ว่าปลายทางของเราคืออะไร ไม่ใช่แค่ view
  • Content = Core ของ MKT : video ที่ถูกที่สุด = คนแชร์เยอะ, video ที่แพงที่สุด = ไม่มีคนแชร์
  • ธุรกิจ mkt ต้อง think beyond, เราใช้ platform ตปท. แต่เราต้อง localize ให้เข้ากับพฤติกรรม วัฒนธรรมของคนในประเทศเรา
  • ทุกอย่างบนโลก digital มัน tracking ได้หมด แต่แคมเปญจะมีประสิทธิภาพไม๊ มันขึ้นกับว่าเราหา insight ได้คมพอหรือเปล่า (เช่น Facebook Pixel)
  • สิ่งที่ยากสำหรับธุรกิจนี้คือ "ความยั่งยืน" เราอาจจะเกิดด้วย ความขำ (ตอนนี้ทุกคนเป็น CEO กันหมดแหละ Chief Entertainment Officer 5555) แต่จะอยู่ต่อไปยังไง ตัวเราอยู่ที่ไหน เกิดมาแล้วเติบโตยังไง เราต้องแตกต่าง 
  • ทุกคนมีตัวตนบนออนไลน์ได้ แค่ต้องตอบให้ได้ว่า เราสร้างคุณค่าอะไรให้ลูกค้าเรา เราแตกต่างยังไง มันเป็นตัวเราใช่ไม๊
  • อย่าง Blogger ตอนนี้ที่ผุดเป็นดอกเห็ด ตัว Blogger เองจำได้หรือเปล่าว่า วันแรกที่คุณเขียน คุณเขียนอะไร ต้องการให้ใครอ่าน แล้วคุณยืนหยัดจุดนั้นมาได้มากขนาดไหน จงทำในสิ่งที่รู้จริง คนส่วนใหญ่จะเชื่อในคนที่รู้จริง การที่ blogger ทำอะไร mass mass มันจะไปสู้ portal web ได้ยังไง blogger หลายคนไม่รู้ว่าผู้อ่านของตัวเองคือใคร จะหา brand มา support / หารายได้ ได้ยังไง เช่นเดียวกัน ในฐานะของแบรนด์ก็ต้องรู้จัก influencer แต่ละคน แต่ละกลุ่มว่าเป็น leader ของลูกค้ากลุ่มไหน เพื่อเลือกใช้ influencer ให้ถูกคน ไม่ใช่เลือกดูจาก Top12 อะไรงี้
  • มนุษย์มีหลากหลายสายพันธุ์ มีความ niche เต็มไปหมด คนที่คิดว่าเป็นลูกค้าเรา พอเอาเข้าจริงลูกค้าอาจจะไม่ใช่กลุ่มนี้ก็เป็นได้
  • Software จะลดความเหลื่อมล้ำทางด้านความรู้ ทุกวันนี้ data เยอะมาก ถ้าเก็บเป็น เก็บมีประโยชน์ มันจะมีมูลค่ามหาศาล (เป็นทอง) แต่ถ้าเก็บไม่เป็นมันก็รกไปงั้น (เป็นขี้) Data ที่มาจาก consumer เอามาวิเคราะห์ว่า มันใช่ vision ของธุรกิจเราหรือเปล่า
  • ในแวดวง Digital MKT การคิดลบทำให้ต่อยอดได้ช้า จงคิดบวกอยู่ตลอด ปรับตัวให้เร็ว อย่ามี Ego รู้จักตัวเรา รู้จักลูกค้า
  • Make it personal เรากำลังคุยกับ user คนนี้คนเดียว เราเข้าใจเค้าเป็นอย่างดี (private เก็บไว้คนเดียว) Make it instant ทำให้มันเร็ว ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ให้เร็ว (ยกตัวอย่าง Instant Article ของ FB)  Make it connect (macro/global) เราจะไม่ connect กับคนอย่างเดียว บริษัทใหญ่ๆ อุปกรณ์เครื่องใช้จะ connect กัน smart bed-air Make experience ให้คนได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ 
  • ความรู้มีเต็มไปหมด เป้าหมายของพวกเราคืออะไรต่างหากที่ต้องรู้ เป้าหมายจะบอกเราว่าเราควรจะ focus เรื่องอะไร 
  • การทำธุรกิจไม่ได้ใช้ skill แค่เรื่องเดียว การมี partner เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราอยากทำเรื่องนี้ จะให้ใครช่วยดู?
  • มีความจริงใจ มองที่จุดเริ่มต้น ทำอะไรเป็นจุดๆ เล่าความจริง 
  • content ที่ได้รับความสนใจมากๆ คือ content ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดย user อย่างปราณีต ไม่ต้องปรุงแต่งมันมาก แค่จัดวางให้ถูกทาง
  • payment เราน่าจะเห็นเครื่องมือที่มาช่วยจ่ายเงิน พอจ่าย online ก็จะมีเรื่อง crm ตามมา เช่น e stamp, e coupon, datebase 
  • Digital MKT คือทุกอย่างบนออนไลน์ online <-> offline  Social media ตอนนี้ไม่ใช่แค่ใช้พักผ่อน อย่าง FB ก็เป็น discovery tool แล้ว
  • Content เราเป็นยังไง เราตอบสนองได้ดีแค่ไหนกับ user อยู่ถูกที่ถูกเวลาหรือเปล่า Content อยู่ได้ทุกที่ แปรผันตามภาชนะที่เราอยู่
  • คุณค่า & คุณภาพ
ปล. อยากทำ smart ตู้เสื้อผ้าผู้หญิงเลยอะ อะไรเคยใส่ไปงานไหน ใส่ไปกี่ครั้งแล้ว อันไหนใช้ซ้ำได้ คือมันดีมาก 555

**เป็น Session ที่สนุกมาก เหมาะมากที่อยู่หลังพักเบรค (มีอาหารในท้อง) ทำให้ไม่ง่วง 555



ปิดท้ายด้วย Startup ความยิ่งใหญ่ของงานนี้คือ 3 ค่าย (AIS/DTAC/TRUE) ขึ้นเวทีเดียวกัน พร้อมกันเลยจ้า
  • คุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ Founder of OOKBEE - Venture Partner, 500 Startups
  • คุณปุณณมาศ วิจิตรกุลวงศา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท แอสเซนต์ กรุ๊ป จำกัด
  • คุณสมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์ Director, Business Innovation & dtac Accelerate
  • ดร. ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp


  • ธุรกิจยังเป็นธุรกิจ แม้จะนำเทคโนโลยีมาผลักดัน แต่หัวใจสำคัญยังเป็นเรื่องของการทำธุรกิจอยู่ดี startup จึงไม่ใช่แค่ tech startup เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น Airbnb (การท่องเที่ยว) หรือ Uber (การเดินทาง การขนส่ง) ก็เอา technology ไปใช้กับธุรกิจเดิม ทำให้มันเติบโตเร็วขึ้น
  • ปีนี้เรื่องสำคัญไม่ใช่จำนวนที่เปิดธุรกิจใหม่ แต่เป็นเรื่องทำให้บริษัทอยู่ได้ในระยะยาว รวมถึงการแข่งขันกับคู่แข่งจากเพื่อนบ้านที่เริ่มลุกมายังตลาดในไทย มองว่าอยากให้ startup รวมพลังกันมากขึ้น ความฝันไปไกล ความจริงเราอยู่ตรงไหน ทำไมเราไม่รวมพลังกัน ภายในปีสองปี ให้มันก้าวไปสู่นานาชาติได้ End game เราอยากเป็นอะไร ขีดจำกัดของเรามีเท่าไหร่
  • ในวง startup นักลงทุนจะเลือกจากโมเดลที่ถูกพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถไปต่อได้ มากกว่าสิ่งที่อยู่ในเทรน - เราไป copy ใครมา คนที่เราไป copy มา เค้า work ไม๊ แล้วถ้าเราเอามา มันใช้ได้กับในตลาดเราไม๊ ไม่ใช่สักแต่ copy paste
  • Startup หลายที่ ขาดคุณสมบัติในการทำการตลาด บาง Product ทำมาดีมากๆ แต่พอขายไม่ได้ ก็คิดว่า Product หรือสิ่งที่เราทำนั้น "ไม่ WORK" ซึ่งความไม่ work มันไม่ได้อยู่ที่ตัว Product ไง -w-
  • Startup ถ้าให้ดีต้อง go inter ถ้าค่าเฉลี่ยเราสู้ได้ แต่ระดับ top ยังสู้ไม่ได้ ถ้าเราจะเป็นอย่าง Uber Google FB เราอยู่แค่ในเมืองไทยไม่ได้ เราต้องมีจิตใจที่แข็งแกร่งมาก มีการ collaboration กัน
  • หน้าที่ของ startup คือทำธุรกิจของเราให้สำเร็จ ไม่ใช่ธุรกิจของค่ายใดค่ายหนึ่งประสบความสำเร็จ (ais/dtac/true/shareholder อื่นๆ) 
  • Startup ต้อง "รักและมี passion มากพอ" ที่จะฟันฝ่าอุปสรรค ปัญหาต่างๆ (80% fail, 10% zombie, 1% growthเป็นพันเท่า) Passion คือ ต้องนึกถึงมันตลอดเวลา ต้องรู้จัก problem statement -> หาคนที่จะเป็น partner ช่วยเรา solve this problem
  • ทุกอย่างมีเวลา มีคนทำได้ดีและถูกกว่าเราเสมอ การลงทุนมี cycle ของมัน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น จงทำตัวเป็นแมลงสาบ เราต้องรอดให้ได้! 
  • เราไม่ได้สนใจว่าตอนนี้คุณเป็นอะไร เรามองว่าอีก 3 ปีคุณจะเป็นอะไร มันคือ strategic plan อยากให้ทุก startup มีมันไว้

เราขอทิ้งท้ายด้วย Quote เด็ดที่เจ็บจี๊ดไปถึงใจ (เหมือนโดนด่ากลางสี่แยก)
ทุกคนมีเวลาว่างที่จะทำสิ่งที่ชอบ สิ่งที่ฝันเสมอ


เป็นบ่ายวันเสาร์ที่คุ้มค่าจริงๆ ^_^

ทางทีมงานมีสรุปประเด็นให้อ่านเหมือนกัน ที่นี่เลยค่ะ https://www.facebook.com/creativetalklive/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์ตรงกับการโดน Facebook บังคับเปลี่ยนชื่อ ทำอะไรไม่ได้นอกจาก "รอ"

สองชั่วโมง สองที่เที่ยว ด้วย เรือหางยาว เจ้าพระยา

น้องนีโม่ กับ โรคฉี่หอม