เปิดโลก CREATIVITIES UNFOLD #CU2015 กับ TCDC

เมื่อวาน (12 Sep) ได้มีโอกาสไปร่วมงาน #CU2015 มาล่ะ งานนี้เค้าก็จัดมาหลายปีแล้วเนอะ แต่เพิ่งเคยมาปีนี้เป็นปีแรก ตื่นตาตื่นใจพอควร เพราะส่วนมากจะไปแต่งานแบบสายเว็บ สายเทคโนโลยีอะไรงี้ คืองานนี้มันก็เป็นงานเทคโนโลยีแหละ แต่ว่ามันมีเรื่องของ Creative และ Design เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 


CREATIVITIES UNFOLD, BANGKOK 2015

เป็นงานสัมมนาที่มีวิทยากรที่เป็นยอดมนุษย์มาพูดให้เราฟัง งานมีอยู่สองวันด้วยกัน คือเมื่อวานกับวันนี้ (วันนี้ไม่ได้ไปละล่ะ)


งานเค้าเริ่มตั้งแต่เช้า คือเราไปถึงประมาณสิบโมง คนก็มากันเยอะแล้ว (ตามกำหนดการ Speaker คนแรกพูดตอน 10.30 น.) ก็รีบเอาบัตรไปลงทะเบียน จะได้สายรัดข้อมือสีๆ มา ตามประเภทของคนที่มาร่วมงาน อย่างของเราก็ได้สีเขียวมา จากนั้นก็เอาบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ก็ได้ ไปทำการยืมวุ้นแปลภาษา


แล้วก็โดนต้อนเข้าไปในห้อง เพื่อทำการเปิดงาน แทน แท๋น แท๊น


คือห้องมืดกว่าที่คิด ตอนแรกกะจะเอาคอมไปจด แต่คิดถูกมากที่ไม่เอาไป เพราะคนๆ นึง มีสิทธิ์เป็นเจ้าของเก้าอี้ 1 ตัวเท่านั้น โนโต๊ะ โนปลั๊กไฟ 

หลังจากที่ได้กล่าวเปิดงาน ถ่ายภาพหมู่กันไปเรียบร้อย ก็ได้เวลาของ Speaker คนแรก ละจ้า

อ่อ บอกไว้ก่อนว่าเราไม่ได้ใส่วุ้นแปลภาษาตลอดเวลา เพราะ
  • พอข้างนึงเป็นภาษาไทย อีกข้างนึงเป็นภาษาอังกฤษแล้วรู้สึกสมองไม่รับภาษาอะไรเลย 
  • คนแปลเป็นภาษาไทยทำหน้าที่ของเค้าดีแล้ว แต่เสียงเค้านิ่งเรียบมาก พอฟังไปนานๆ แล้วเคลิ้ม เคลิ้มเสร็จก็เริ่มหลับตา สุดท้ายก็เลยถอดวุ้นแปลภาษาออกจากหูซะเลย

ดังนั้น หากอ่านจบแล้วตรงไหนมันทะแม่งๆ คือ Speker ไม่ได้พูดแบบนี้ หรืออะไรก็แล้วแต่ บอกกันได้เลยนะฮะ นี่พยายามสุดความสามารถของหูและสมองด้านภาษาอังกฤษแล้วชริงๆ

ดร. จอร์แดน แบรนดท์

นักอนาคตศาสตร์ด้านเทคโนโลยี และผู้อำนวยการกองทุน Spark Investment Fund ของ Autodesk 


  • Setting Up for failure ประโยคนี้ได้ยินแทบทุกเวทีจริงๆ คือ จะเฟลก็รีบเฟล แล้วไปต่อ
  • การออกแบบ แบบที่นั่งเขียน นั่งวาดไปเรื่อยๆ มันเปลืองเวลา เอาเทคโนโลยีมาช่วยให้เราออกแบบได้เรื่อยๆ ให้คอมมาช่วยเราออกแบบ "Generative Design"
  • คนเห็นกระดาษเปล่าๆ เราสามารถเขียนไอเดียลงไปได้ แต่สำหรับคอมมันทำไม่ได้
  • แทนที่จะเขียนปัญหา ให้เขียนคำตอบที่เราต้องการ
  • การเริ่มต้นวาดแบบ 5-10 Options แล้วผ่านโปรแกรมที่มีการเขียน algorithms แบบที่เราต้องการ ให้มันทำงานซ้ำๆ จะก่อให้เกิด solotions หลักพัน (เติบโตแบบ exponential) 
  • ระบบของ Cloud ทำให้ทุกคนสามารถทำงานได้พร้อมกัน เวลาเดียวกันได้ แม้จะอยู่คนละซีกโลก การทำงานแบบ collaboration ทำให้ได้ result เพิ่มเยอะมาก
  • Machine Augmented สอนให้มันทำ พอมันทำซ้ำๆ เราก็จะยิ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด 
  • เค้ายกตัวอย่าง Google Image Search เช่นการหาภาพแมว เราก็ต้องสอนเครื่องก่อน ให้มันรู้จักว่าแมวหน้าตาเป็นแบบนี้นะ แล้วก็ให้เครื่องพัฒนาผลการค้นหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยตัวเอง เราตั้งโจทย์ไป ใส่เครื่องให้จัดการ (ตรงนี้คือเราต้องเขียน algorithms ใส่ให้มัน) แล้วก็ได้ออกมาเป็นผลลัพธ์ที่เราอยากได้
  • ถ้าอยากรู้ว่ามันทำงานยังไง คงต้องใช้การ Reverse Engineering แต่มันก็ยากอยู่ดีงี้
  • แล้วถ้าเราอยาก search ภาพเป็นแบบสามมิติล่ะ? ก็ต้องเริ่มจากการ Grouping Object ตามรูปทรง รูปร่างของมัน เช่นอันนี้ฟันเฟืองนะ อันนี้นอต (ซึ่งมันก็มีหลายแบบ) จากนั้นก็ต้องบอกว่า แต่ละ Object มันเชื่อมโยงกับอีก Object ยังไง (แล้วก็น่าจะมีอะไรต่ออีกเยอะเลย)
  • การ Redesign อะไรก็ตาม ให้ Over and Over โดยตรงนี้ ให้เอาคอมเข้ามาช่วยในการทำงาน
เค้ายกเคสตั๊กแตน issus coleoptratus มาให้ดู มันเป็นตั๊กแตนประเภทนึงที่มีฟันเฟืองเป็นของตัวเองตอนยังเป็นตัวอ่อน ส่วนนี้ช่วยให้มันกระโดดและรักษาสมดุลได้ แต่พอมันโต อวัยวะส่วนนี้ก็จะหายไป
การ design มันก็มาจาก Genetic Algorithms เนี่ยแหละ


สร้างโครงสร้าง ประเมินผลการทำงาน แล้วก็เลือกสิ่งที่ดีที่สุดออกมา

โครงการ Moon Express มีโจทย์ว่าให้น้ำหนักเบาที่สุด solution ที่เครื่องให้ออกมา เป็นการออกแบบที่แปลกประหลาด คนบนโลกนี้ไม่มีทางออกแบบแบบนี้แน่ แต่จากผลการทดลองก็พิสูจน์ได้ว่าที่เครื่องออกแบบมานั้น เป็นผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

สิ่งที่ดีที่สุดมาจากการทำซ้ำกับหลายๆ รอบ จากผลลัพธ์หลักล้าน อาจจะมีแค่หนึ่งเดียวที่ใช้การได้

เค้ามองว่าในในอนาคต Machine จะจับมือกับ Human เป็น co worker ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด


แล้วเค้าก็พูดถึงโปรเจคออกแบบรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้วิ่งเร็วประมาณ 18 ไมล์/ชั่วโมง ที่ต้องคำนึงถึงคือ "เบา เร็ว แข็งแรง" ทีนี้กระบวนการทำงานของเค้าคือ
- ดูข้อจำกัดว่าเราปรับอะไรได้ ไม่ได้
- วิเคราะห์แรงกดในแต่ละจุด จุดไหนแรงกดเยอะ ก็ต้องแข็งแรงหน่อย
- วาดภาพ Model ใหม่ ออกแบบกับเครื่องเลย วาดมาหลายๆ แบบ
- ลอง print 3D Model ออกมา
- dream catcher ลดปริมาณวัสดุที่เราไม่จำเป็น (จุดที่แรงกดน้อย)
- ออกแบบซ้ำแล้วซ้ำอีก เลือกสิ่งที่ดีที่สุด ในจุดนี้มนุษย์ต้องเป็นคนตัดสินใจ ประสบการณ์มีผลตรงนี้มากๆ
- ดูผลลัพธ์ อันไหนตอบโจทย์มากที่สุด แล้วก็ print 3D Model ออกมา (3D Model is geeting real เพราะสามารถเลือกวัตถุดิบได้เลย ไม่ว่าจะเป็น คาร์บอน ไฟเบอร์ บลาๆ)

3D printing นี่เอาไปใช้ในวงการแพทย์ด้วยนะ ทำในส่วนกระดูกสะโพก เลือกใช้วัตถุดิบที่เอาไปเชื่อมกับกระดูกมนุษย์ได้จริงๆ

ในปี 2017 เค้าตั้งใจจะทำ 3D Printing สร้างสะพานข้ามแม่น้ำ ในอัมสเตอร์ดัม คือ Design มันสวยมาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้เลย ที่จะติดคือ คนมั่นใจแค่ไหนที่จะเดินข้ามสะพานนี้?


  • ระดมทุน $100M เพื่อให้เกิด 3D Printing : https://spark.autodesk.com/fund
  • ผลิตหมึกที่มีประจุไฟฟ้า รวมร่างกับ 3D Printing ก็จะมีไฟฟ้าอยู่ใน 3D Printing ได้เลย : http://www.voxel8.co/
  • การ Copy ของต้นฉบับง่ายขึ้น ถูกลงกว่าเมื่อก่อน 90% เป็นอย่างน้อย
  • ถ้าเกิดโมเลกุลเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือโดนไวรัสเล่นงาน แทนที่จะได้เหล็ก อาจจะได้ ฝ้าย แทน (เออ นี่โหดดี)
  • หน้าจอไอโฟน มีประมาณ 3.5 pb voxels (peta = 10 ยกกำลัง 15) 
แล้วก็ยกสถานที่ P9 มาให้ดู เป็น Fab Lab ของต่างประเทศ ที่เค้าทำงานอยู่ คือแบบ อยากไปเล่นด้วยมากกกกกกก ณ จุดนี้ !! >> กดดูให้ไว https://vimeo.com/102782133


กล้าที่จะลองสิ่งใหม่ อย่ากลัวความล้มเหลว

  • เป็น Maker ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ทุกคนในชุมชน
  • งานฝีมือคนคงไม่หายไปไหน แค่มีงานฝีมือแบบ Digital เพิ่มขึ้นมา เค้าถือว่าเป็นความงามคนละแบบ
  • Designer ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของ Engineering บ้าง จะได้ช่วยให้งานออกมาเกิดประโยชน์สูงสุด
  • เค้ามองว่าถ้าเครื่องจะมาแทนใคร คนนั้นน่าจะเป็น Engineer ไม่ใช่ Designer
  • ที่เค้าอยากทำในอนาคตคือ พอของมันหมดอายุแล้ว เราจะแยกสสารที่มันปนอยู่ด้วยกันออกมาเป็นของบริสุทธิ์ เพื่อเอากลับมาใช้ได้อีก ของจะได้ไม่ล้นโลก​ (คือมีคนถามว่า สร้างมาเยอะๆ เนี่ย มันรกโลก มันเป็นขยะม๊ายยย)
อะ ไปกินข้าวก่อนนะ


ช่วงพักกลางวัน หลังจากที่กินข้าวเสร็จแล้ว ก็มาเล่นกิจกรรมข้างหน้างานซะหน่อย
มีเหล่า Maker เมืองไทยมาออกบูธ 3 เจ้าด้วยกัน NE8T (ไม่คุ้นเท่าไหร่เล้ยยย), Maker Zoo, Fab Cafe

สำหรับ Maker Zoo นี่ไปเล่นกิจกรรมแข่งกันตำครกให้เกิดกระแสไฟฟ้า พอชนะก็ได้ไป Scan ตัว หมุนๆ อยู่สามรอบ (คือชนะไง) แล้วเค้าก็จะ random จับสลาก ใครโชคดีก็จะได้ model กลับบ้าน
... ไม่เคยมีโชคด้านนี้ก็งี้ #ร้องไห้หนักมาก

แต่ๆๆ เพิ่งได้อีเมลมาเมื่อกี้เลยจ้า (13 Sep, 14.42) ได้ Model ตัวเองแบบเป็นภาพมาดูเล่น เห็นแบบนี้แล้วคิดถึงตอนเรียนวิชา Animation ที่ใช้โปรแกรม Blender ขึ้น Model เลย




แล้วก็ไปเล่นตู้สติกเกอร์ #ไม่ใช่ไม๊!
คือมันเป็นตู้ให้ scan barcode บัตรตัวเอง จากนั้นก็ถ่ายรูป 1 แชะ แล้วก็รอสักพัก (นานอยู่)


เจ้าเครื่องตัวจิ๋วมันก็จะทำการ print กระดาษออกมาให้เรา 


กระดาษที่ออกมาจะมีสามคนต่อกันมา ให้หากันให้เจอ แล้วไปเล่นกิจกรรมตอนเย็นวันที่ 13 Sep (อย่างไรก็ดี ไม่ได้ไปงานวันที่สองค่ะ)


ประเด็นคือ รอบแรกกล้องมันไม่โฟกัส ภาพที่ถ่ายนี่อย่างเบลอเชียว ที่ print ออกมานี่ก็ไม่มีตา เลยขอถ่ายใหม่ ภาพชัดละ แต่ที่ print ลงกระดาษออกมารอบสองนี่ ... มันชัดแล้วใช่ม๊ายยยย


รอไปอีกเกือบสิบนาที ภาพงามๆ ที่ถ่ายไปในตู้ ก็จะโชว์ขึ้นมาบนกำแพงเน้


อะ หมดเวลาเล่นแล้ว ไปตั้งใจเรียนกันต่อเถอะ

ปีเอโร ลิซโซนี
www.lissoniassociati.com 
เปิดสตูดิโอ Lissoni Associati ในกรุงมิลานในปี 1986 เขาสร้างสรรค์ผลงานให้กับบริษัทชื่อดังระดับโลก อาทิ Alessi, Boffi, Cappellini, Cassina, Flos, Fritz Hansen, Glas Italia, Kartell และ Knoll International


คนนี้เป็นคนที่แบบ Design จ๋ามาก และ Slow Speak มาก #ง่วง #ขอโทษค่ะ คือเค้าเป็นคนที่มีมุขหยอดอยู่เรื่อยๆ ไม่น่าทำให้เราง่วงได้ขนาดนี้เลย T T

หลักการ Design ของเค้ามีดังนี้
  • Lightness ของมีลักษณะเบา มองไปในอดีต นำนวัตกรรมมาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ออกแบบยังไงให้ outstanding เรียนรู้จากของเก่ามาพัฒนาของใหม่ redesign มันไปเรื่อยๆ
  • Rapidity เดี๋ยวนี้อะไรๆ ก็พัฒนาเร็ว ตอนปี 1900s จรวดยังเป็นไอเดียอยู่เลย ตอนนี้ smart phone มาจากไหนเยอะแยะ การออกแบบ dna ใหม่ของวัสดุ จะต้องมองไปในอนาคต ออกแบบโมเลกุลแล้วก็มาออกแบบกราฟิก รายละเอียดทุกอย่างต้องถูกต้อง แม่นยำ ศึกษาโดยละเอียด ก่อนทำการ design 
  • Exactitude ความถูกต้อง ทำทุกอย่างให้มีความสมดุล การออกแบบถือเป็นการผจญภัยอย่างหนึ่ง ค่อยๆ ทำเป็น layer แต่สุดท้าย ทุกอย่างต้องทำงานด้วยกัน อย่าง font ที่เราใช้กันเนี่ย ก็ไม่ใช่แค่ design แต่มันเต็มด้วยเลข เรขาคณิต จะออกแบบบันไดก็ต้องมีการคิดคำนวณ
  • Visibility ทำให้เกิดการมองเห็นที่ชัดเจน ออกแบบให้เชื่อมโยงกับโลกของเรา
  • Multiplicity การผลิตออกมาซ้ำๆ ผลิตงาน design ออกมา serve industry ต้องใช้วัตถุดิบอะไร เทคโนโลยีอะไร Dedicate to community 
  • Consistency ความเสมอต้นเสมอปลาย เข้าไปอยู่ภายในนั้น เค้าทำอะไรกัน ต้องมีความช่างสังเกต ยกตัวอย่างการ design Coffee machine คือทำ prototype มา 6 อัน ใช้เวลา 2 ปี (กะอีแค่เครื่องชงกาแฟเนี่ยแหละค่ะ) เพราะนอกจากเรื่องความสวยงามแล้วต้องคำนึงถึง volumn, pressure, dimension, แรงไฟฟ้า บลาๆ อีกเยอะงี้
  • Foolishness โง่ บ้า บ๊อง ทำของ stupid ตั้งหลายอย่างเช่น โคมไฟที่ไม่สว่าง เป็น blue moon หรือทำการ์ดเชิญแบบที่ติดแบตเตอรี่เข้าไป พอกดก็จะมีเสียงพูด มีกราฟิก ทีนี้พอเอามากองรวมกันใส่กล่องส่งไปรษณีย์ แรงกดมันก็ทำให้แบตติด ติดอยู่อย่างนั้นแหละ พอ 2 ชั่วโมงแบตก็หมด พอไปถึงปลายทาง มันก็ใช้การไม่ได้แล้ว : Move outside Limit = A little bit stupid แต่พอเรา become stupid ก็จะมีคน stupid อยู่รอบตัวเราไปหมด
คำว่า Less is More เป็นสิ่งที่ดี แต่ภายใต้นั้นเต็มไปด้วยความ Complexity ต้องผ่านความกล้าหาญหลายอย่างในการตัดหลายสิ่งออก เพื่อให้มันเป็น Less is More

มีงานจัดแสดงของ Cotto ที่เค้าเป็นคนดีไซน์ อยู่ตรงเอมควอเทียร์ด้วยนะ




ริช รัดคา

ผู้ร่วมก่อตั้ง Claro Partners บริษัทให้คำปรึกษาด้านการออกแบบบริการและนวัตกรรมทางธุรกิจ ก่อนหน้านี้เขาเป็นผู้ร่วมดำเนินการของ Node – Innovation for Growth ในกรุงบาร์เซโลนา เขาก่อตั้งและบริหาร Nest ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการด้านกลยุทธ์การออกแบบในนิวยอร์คเป็นเวลา 5 ปี และยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการด้านการวางกลยุทธ์ของ Sapient อีก 5 ปี


ชอบคนนี้ พูดชัด (US) ถึงแม้จะพูดเร็ว แต่ความ alert ของเค้า ทำให้เราไม่ง่วง
The Digital Revolution
  • Ownership -> Access
  • Services delivered by companies -> Network enabled markets
  • Big data & aggregated resources -> Smart data & personalised experiences
  • Hierarchical structured organisations -> Adaptive, informal micro business
  • Internet of information & people -> IoT (every objects)
  • Market segment, life stage, paths -> Switching mode in a world of flux
ลดลง : Cost, Distance, Time, Barriers to entry
เพิ่มขึ้น : Competition, Information, Access, Transparency, Debundling (1 thing really well for you)
>> Best, Fast, Cheap = Opportunities

5 key principle to guide design for disruptions 

1) start with people
  • human center
  • focus on user
  • user จะซื้อของเรา ถ้าเรา design แบบ user center ถ้าต้อง convince ให้ซื้อ แสดงว่าไม่ใช่ user center
  • เราต้องรู้ว่า user ต้องการอะไร แล้วเค้ามีประสบการณ์แบบไหน (อยู่คนละทวีปก็มีประสบการณ์ไม่เหมือนกัน) เมื่อรู้แล้วก็จะเกิดโอกาส โอกาสในการสร้าง value เพื่อไปตอบโจทย์
Ethnographic approach
  • Let people do
  • Co create with customers
  • 1st hand observation
  • qualitative and immersion
  • explorative, open ended
Digital Native Profile 
  • Lifestyle เปลี่ยนจาก linear path เป็น keep options open เพราะว่า my life is in constant flux
  • Values : Personal Growth, Purpose, Authenticity 
  • Behaviours: Invest in myself, Leverage my assets, Do it my way 
2) Combine Macro and Micro views
  • Macro: Social Norms expectation
  • Micro: People change needs&behaviours, frustration, fixes
Multiple layers of experiences: Discovery, Safety, Orientation, Comfort, Pleasure

3) Iterate

Information -> Perspective -> Insight -> Concept

  • ตอนที่เราได้ข้อมูลมา ไม่ว่าจะด้วยการสังเกตหรืออะไรก็ตาม ต้องเอามันไป
  • filter data, extract relevant info., organise pattern, identify unmet needs แล้วไปต่อที่การทำ insights ว่า
  • the most meaningful connections, define opportunities, build framework (what company should do), choose what's actionable  แล้วจึงค่อยเกิด concept
  • ซึ่งประกอบไปด้วย insight & framework, insight-based ideation, produce concept meaningful to target user & business, prototype don't illustrate 
  • ห้ามกระโดดจาก information ไป concept เลยเด็ดขาด
4) Generate + Validate
  • Qualitative : understand WHY, Generate
  • Quantitative : understand WHAT, Validate (make sure ว่ามัน work)
 5) Design for the whole person (digital native)
  • วงนอกสุด : Simple, Genuine, Easy in Easy out (easy to use easy to stop)
  • วงกลาง : Customisable, Responsive (agile ในการเปลี่ยนแปลง), Participatory (help them be more) 
  • วงในสุด : ME
  • Stay Agile 
  • Keep people hungry
  • Act like network not hierarchy
  • Trust yourself & Team
  • Know step of the way : what's next step?
เวลา survey user จะได้คำตอบที่แท้จริงได้ยังไง?
  • Prepare: understand what do you going to understand
  • Co-Creation: ให้ user show แทนที่เราจะ ask question 
  • ให้ user รู้สึกผ่อนคลาย สบาย ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป อาจจะยกสถานการณ์มาให้ฟังก่อนแล้วค่อยตะล่อมเข้าคำถาม อาจจะกลับไปถามคำถามเดิมอีก 2-4 รอบ แล้วก็ Not Over Expect
Things continued changing -> predict behaviour in next 6 months!

Slide ที่น่าสนใจเต็มเลย http://www.slideshare.net/claropartners/presentations

นิโคลัส เฟลตัน

ผู้เชี่ยวชาญด้าน Data Visualization เขาเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละปีของผู้คนจำนวนมาก โดยเรียบเรียงข้อมูลเป็นกราฟ แผนที่ และสถิติที่เข้าใจง่าย นิโคลัสยังเป็นหนึ่งในผู้นำทีมออกแบบไทม์ไลน์ของ Facebook และผู้ร่วมก่อตั้ง Daytum.com

คนนี้เป็นคนที่เราชอบมากกกกก เป็นคนที่บ้า data มากถึงมากที่สุด เก็บทุกสิ่งอย่างออกมาเป็น visual ได้
เค้าแชร์ให้ฟังว่า


  • 1766 - line graph
  • 1826 - 1st photograph 
  • 1920 - 1st selfie photograph
  • แต่พอเข้ามายุคดิจิตอลเท่านั้นแหละ จำนวนรูปภาพที่เกิดขึ้นเยอะมากอย่างเห็นได้ชัด
  • photography ตอนแรก representation 'myself' สังเกตได้จากรูป portrait 

เค้าเริ่มทำโปรเจคเก็บ data มาตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบันก็สิบปีงี้ แล้วทำ annual report ทุกปี คือเก็บทุกอย่างบนโลกนี้ กินอะไร เจอใคร sms, fb message, email คุยอะไรกับใครบ้าง (ทำเป็นหนังสือออกมายังกับไบเบิล) ออกกำลัง นอน ขับรถ ปริมาณคาเฟอีนที่กินกาแฟเข้าไป ไปที่ไหนบ้าง เก็บทุกอย่างที่คนอย่างเราไม่คิดจะเก็บอ่ะ!

นอกจากทำเรื่องของตัวเองแล้วในปี 2010 ที่คุณพ่อเค้าเสีย เค้าก็ทำ Data Visualisation ให้คุณพ่อจ้า เก็บทุกอย่างที่คุณพ่อมี (ที่เป็นกระดาษ) ไม่ว่าจะเป็น ไดอารี่ ปฏิทิน รูปภาพ passport โปสการ์ด และอื่นๆ อีกมากมาย เอามาทำให้หมด!

การทำ Data visualisation ทำให้เราสามารถรู้จักประวัติของคนๆ นึงได้เลย ซึ่งไม่มีใครรู้จักเราดีเท่ากับตัวเราเอง

ผลงานของเค้านะฮะ

  • 2008 -> Daytum.com
  • 2011 - 2013 -> Facebook Timeline Development ทำให้เข้าถึง memory เมื่อก่อนได้ง่ายขึ้น, open graph & activity log, action tagging (ที่บอกว่าเราทำอะไร รู้สึกยังไงนั่นแหละ), maps & typography 
  • 2012 -> Reporter App อันนี้ data อยู่ในเครื่องเรา ไม่มี server 
  • อีกทั้งมี sambev.com, citibikes, vessys


Liability <- Data -> Profit
Vulnerability <- Data -> Convenience
Questions <- Data -> Insights
Data -> Understanding -> Take Action
Negative correlation (-0.44%) between my daily transit time & computing time
คือทุกคนมีคำถามเดียวกันว่าเค้าใช้ชีวิตยังไง หมกมุ่นกับ data และการ tracking ตลอดเวลาขนาดนี้ (นี่ก็สงสัยเหมือนกัน)
ที่เค้าตอบมาคือ Just get into it การที่เค้าทำแบบนี้ ทำให้เค้าได้มาเป็น specialist ทำให้เกิดโอกาสหลายอย่าง แล้วก็ทำให้เค้าได้มาอยู่ตรงนี้
#อื้อหืออออ ความคิดหล่อมาก <3 <3 

พอร์เทอร์ เอริสแมน

www.crocodileintheyangtze.com 
อดีตรองประธานของ Alibaba.com และ Alibaba Group เขานำทีมด้านการดำเนินงานเว็บไซต์สำหรับต่างประเทศ การตลาดระหว่างประเทศ และการสื่อสารองค์กร อีกทั้งยังเขียนหนังสือ Alibaba’s World: How a Remarkable Chinese Company is Changing the Face of Global Business และเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัท e-commerce หลายแห่ง ทั้งในอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ละตินอเมริกา และแอฟริกา


ประเทศจีนในปี 1999 : e-commerce will never work in CHINA เพราะ
  • คนเล่นเนต > 1%
  • ไม่มี credit card
  • ระบบขนส่งกาก
  • มีรัฐบาลครอบ
  • คนจีนไม่เชื่อใจกัน
  • คนเก่งอยู่ใน Silicon Valley นู่น
  • ไม่มี กม. รองรับ

แต่ Jack Ma เปลี่ยน Problem ให้เป็น Solutions 
เลือกเป็น หัว chicken ดีกว่าเป็น หาง phoenix 

มีผลวิจัยบอกว่า ถ้าเป็นคน WEST เวลา Google Search ก็จะมองแค่กล่อง Search แต่ถ้า China จะมองไปทั่วหน้าเลย
ตอนที่เค้ามาทำงานที่ Alibaba ก็ต้องดูสภาพแวดล้อมปัจจุบัน แล้วสร้างมันขึ้นมาใหม่ เพราะประสบการณ์เก่าที่เคยทำให้ฝั่ง WEST มันมาใช้ที่นี่ไม่ได้ คน Asian ชอบให้มีคนพูดคุยด้วย ดูจาก IG, FB, Line ก็ได้ ถ้าใน WEST จะไม่มีเรื่องการ chat 

Circle of trust
Strangers < Friends of friends, Colleagues < Friend < Family

Alipay.com 
  • การ transfer เงินไม่ใช่เรื่องยาก ที่ยากคือความเชื่อใจ
  • การจ่ายเงินของที่นี่คือ Buyer -> Alipay -> Seller แทนที่ Buyer -> Seller 

คนนี้เอาคลิปวีดีโอ 2 คลิปที่ Jack Ma มาพูดให้ดู (ตอนจะตั้ง Alibaba กับตอนฉลองครบรอบสิบปีมั้ง) ดูแล้วปลุกใจมากกกกกกก 

จะเริ่มธุรกิจ ทำยังไงให้โดดเด่น?
  • focus on customer - what do they want?
  • innovate
  • difference from competitor 

ทำไมถึงชื่อ Alibaba : ง่ายต่อการจดจำ เข้าใจง่าย ทุกคนในโลกเก็ต 

If you don't dream big, Big change will never happen.

งานจบทุ่มนึง เป็นทั้งวันที่คุ้มค่าจริงๆ


ปล. ขอบคุณพี่ปู พี่ฮาว ที่ทำให้พริ้วได้เปิดโลกครั้งนี้นะคะ :) 

ความคิดเห็น

  1. สวดยอด อ่านประวัติของแต่ละคนแล้วสุดยอดจริงๆ อยากมีโอกาสไปฟังงานแบบนี้บ้างจัง :D

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ปีหน้าก็มีอีก อย่าลืมติดตามข่าวสาร :)

      ลบ
  2. ขอชื่นชมกับความขยันของน้องที่เขียนsummarize งานออกมาได้ละเอียดและเข้าใจง่ายได้ขนาดนี้ สุดยอด!

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณค่า นี่ก็พยายามเขียนให้ดีที่สุด จากการที่ฟังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง 555

      ลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประสบการณ์ตรงกับการโดน Facebook บังคับเปลี่ยนชื่อ ทำอะไรไม่ได้นอกจาก "รอ"

สองชั่วโมง สองที่เที่ยว ด้วย เรือหางยาว เจ้าพระยา

น้องนีโม่ กับ โรคฉี่หอม